วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

Point of Service Master

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรม FACING PROBLEMS

18 พฤศจิกายน 2559
โครงการอบรม FACING PROBLEMS (การแก้ไขปัญหาในงานบริการอย่างมีประสิทธิภาพ)
โดย อาจารย์ฐิติรัตน์ เจริญยิ่งวัฒนา
สถานที่ MALL GROUP ACADEMY
เดอะมอลล์งามวงศ์วาน

อาจารย์เริ่มต้นด้วย พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอบู่หัว ในพิธิพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 10 กรกฎาคม 2536 ดังนี้
"งานทุกอย่าง มีบุคคลซึ่งมีชีวิตจิตใจ มีความนึกคิดเป็นผู้กระทำ ถ้าผู้ทำมีจิตใจไม่พร้อมจะทำงาน เช่น ไม่ศรัทธาในงาน ไม่สนใจผูกพันกับงาน ผลงานที่ทำก็ย่อมบกพร่อง ไม่คงที่ ต่อเมื่อผู้ปฎิบัติมีศรัทธา เข้าใจซึ้งถึงประโยชน์ของงาน พร้อมใจและพอใจที่จะขวนขวายปฎิบัติงานโดยเต็มกำลังความสามารถ งานจึงจะดำเนินไปได้โดยราบรื่น และบรรลุผลตามที่มุ่งหมาย"

ในงานบริการก็เช่นเดียวกันหากคนที่ทำไม่ศรัทธาในงานบริการ งานบริการที่ทำก็จะไม่เป็นที่ยอมรับและจดจำ เกิดปัญหามากมายตลอดเวลา หากผู้ที่ทำงานบริการศรัทธาในงานที่ทำ ขวนขวายหาความรู้ ฝึกฝนการบริการ จนเกิดความชำนาญด้วยความศรัทธาแล้วนั้น ความเจริญงอกงามจักเกิดขึ้นอย่างยั่งยืนต่อผู้นั้นอย่างแน่นอน

ทำไมต้องเรียนรู้เรื่องการบริการตลอดเวลา
ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ห้างสรรสินค้าเกิดขึ้นเป็นดอกเห็ด สินค้ามีความหมายหลากหลายและหาซื้อได้โดยง่าย ไม่ว่าจะซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ตหรือขายตรงอื่นๆ ความอยู่รอดของนักการบริการในห้างสรรพสินค้ายิ่งท้าทายขึ้นทุกวัน ท้าทายกับการเปลี่ยนแปลง ท้าทายกับการตอบโจทย์ลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ไม่มีเวลาให้เราหยุดนิ่ง หากหยุดนิ่งไม่ฝึกฝน ไม่ค้นหา เราก็จะเหมือนแค่คนที่หายใจเพื่อรอความตาย

ใครสำคัญที่สุด
โดยปกติเราได้รับการปลูกฝังมาโดยตลอดว่า ลูกค้าสำคัญที่สุด สมมติถ้าเราติดเกาะสองคนกับลูกค้า และมีเรือที่สามารถนั่งได้คนเดียว มีเก้าอี้รอดเพียงที่เดียว คุณจะปล่อยให้ใครตายที่เกาะ ระหว่างตัวคุณกับลูกค้า คำตอบก็น่าจะรู้กันอยู่ครับ เราคงไม่ยอมตายอยู่แล้วถูกต้องใช่ไหมครับ ดังนั้นคนที่สำคัญที่สุดคือ ตัวเราเองนี้ละครับ

ย้อนกลับมาดูในสถานการณ์ปกติในชีวิตประจำวันกันนะครับ ลูกค้าก็เหมือนกับเราคือ คนที่สำคัญที่สุดคือตัวเรา ลูกค้าก็จะรู้สึกเหมือนเรานี่ละครับ คนที่สำคัญที่สุดก็คือตัวลูกค้า ปัญหาในการบริการเกิดขึ้นคือ เมื่อลูกค้าไม่รู้สึกว่าตนเองสำคัญที่สุด มันก็แค่ความรู้สึกครับ แต่มันเป็นบ่อเกิดของปัญหาในการบริการ ดังนั้นในการแก้ปัญหาเรื่องนี้คือ การที่เราจะทำอย่างไรให้ลูกค้า รู้สึกว่าตนเองเป็นคนสำคัญที่สุดนั้นเอง

ในห้างกับความเป็นจริง 
เวลาเดินห้างแล้วคำที่ได้ยินบ่อยๆ จากพนักงานคืออะไร ?............. "พนักงานไปทานข้าว" "พนักงานไปเข้าห้องน้ำ" "ไม่ทราบค่ะ" "สินค้าหมด" "ทำเต็มที่แล้วครับ" "เป็นนโยบายของบริษัท"

คนที่เข้ามาซื้อของในห้างไม่ได้ต้องการอะไรมากไปกว่าซื้อของ แต่ปัญหาหลายๆ อย่างที่เกิดขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อคือ ซื้อไม่ได้ เคยไหมครับ จะซื้อของชิ้นนี้แต่พนักงานขายของแบรนนี้ไม่อยู่ พนักงานแบรนข้างๆ ก็ขายให้ไม่ได้ แล้วทำไงครับ รอลูกค้าต้องรอ เมื่อลูกค้าต้องรอ ความประทับจแทบจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้เลยครับ ลองคิดเล่นๆ คุณตื่นมาตอนเช้าอาบน้ำแต่งตัว เดินทางผ่านการจราจรบนท้องถนน ต่อสู้หาที่จอดรถและสุดท้ายซื้อของไม่ได้ ไม่ใช่ไม่มีเงินแต่ไม่มีพนักงาน แล้วคุณจะรู้สึกอย่างไรครับ ปัญหาที่ดูออกง่ายที่สุดกลับไม่ได้รับการแก้ไข

หน้าตาลูกค้า
ปัจจุบันลูกค้าของเรามีหน้าตาอย่างไร บ้าง

1. ข้อมูลมากมาย ปัจจุบันเป็นโลกของข้อมูลข่าวสารมากมายมหาศาล ดังนั้นคิดไว้ก่อนเลยว่าลูกค้าของคุณมีข้อมูลสินค้าและบริการเป็นอย่างดี สิ่งที่คุณต้องทำคือ ต้องรู้มากและรู้จริงให้มากกว่าลูกค้าเพื่อตอบคำถามและให้ความช่วยเหลือลูกค้านั้นเอง ห้ามโกหกแต่ต้องใฝ่รู้หาข้อมูลสินค้าและบริการของตนเองเพื่อเป็นผู้รู้จริง

2. ความต้องการสูง ลูกค้าปัจจุบันมีความคาดหวังที่สูง โดยเฉพาะกับห้างที่สร้างภาพลักษณ์องค์กรออกไปอย่างเลิศหรูอลังการงานสร้าง แต่มาแล้วกลับผิดหวัง อย่างร้ายแรง เช่น โฆษณาภาพว่าพนักงานยิ้มแย้มแจ่งใส่ เต็มใจให้บริการ แต่พอมาถึงห้าง พนักงานกลับไม่แม้แต่ยิ้มแย้ม ดังนั้นถ้าคุณอยู่ในงานบริการคุณต้องรู้ก่อนว่าภาพลักษณ์ของห้างคุณเป็นเช่นไร เพื่อที่จะได้ตอบความคาดหวังของลูกค้าที่เข้ามาได้ตรงกัน

3. มองหาความคุ้มค่า แน่นอนว่าสินค้าและบริการมีโปรโมชั่นต่างๆ เป็นจำนวนมากดังนั้นสิ่งที่ลูกค้าต้องการคือรู้ว่า ซื้อแบบไหมคุ้มค้าเงินมากที่สุด โดยคาดหวังว่าพนักงานจะเป็นผู้ช่วยในการตอบโจทย์ ไม่ใช่ให้ลูกค้าค้นคว้าและหาขู้อมูลเอง ลองดูที่แคชเชียร์สิครับ ระหว่างที่ลูกค้าจะชำระเงิน พนักงานชี้ให้ลูกค้าดู ป้ายเกี่ยวกับโปรโมชั่นในการจ่ายเงินเอง กับพนักงานแนะนำคว่าจ่ายอย่างไรจะคุ้มค่ามากที่สุดเรียงตามลำดับให้ลูกค้าทราบแบบไหนสร้างความประทับใจได้มากกว่ากันครับ

4. ได้รับข้อเสนอดีๆ จากคู่แข่งอยู่เสมอ ธุรกิจค้าปลีกมีการแข่งขันกันสูง ข้อเสนอดีมีอยู่มากมายเราอาจไม่สามารถชนะได้ทุกสนามแต่ถ้าพนักงานบริการสามารถสร้างและดึงดูดลูกค้าได้ ข้อเสนอก็ไม่เป็นผลให้ลูกค้าทิ้งเราไป

5. ฉลาดขึ้น อย่าหลอกลูกค้า เพราะถ้าคุณหลอกลูกค้าคุณจะจนมุมเอง แต่ให้ช่วยลูกค้าเพื่อหาทางออก มองหาทางเลือกที่ดีที่สุดนำเสนอออกมาเพื่อให้ลูกค้าเป็นผู้เลือกและตัดสินใจ จำไว้นะครับ นำเสนอข้อมูลและทางเลือกแต่อย่าตัดสินใจและบีบบังคับ

6. ความอดทนต่ำลง ต้องบอกว่าปัจจุบันความเร็วมันเพิ่มขึ้น คุณเชื่อมต่ออินเตอเน็ตได้เร็วขึ้น ความรู้สึกร่วมในสังความต่อความเร็วสูงขึ้น ลองคิดดูอย่างนี้นะครับ สมันก่อนอยากได้ข้อเท็จจริงเราต้องไปห้องสมุดหาหนังสือที่เกี่ยวข้อง ปัจจุบันพิมพ์ลงกูเกิล 10 วินาทีได้ข้อมูล สมัยก่อนอยากคุยกับเพื่อนต่างจังหวัดเขียนจดหมาย 7 วันส่งไป 7 วันตอบกลับ ปัจจุบันพิมพ์ใส่ไลน์ 10 วินาทีได้คุยกันแล้ว ดังนั้นคนสมัยใหม่ไม่ชอบรอคอย ชอบทันที เดี่ยวนี้ เปลี่ยนสินค้า 14 วัน ตายครับ รอพนักงานหาของ 15 นาที ตายครับ จ่ายเงิน 10 นาทีตายครับ ลูกค้าไม่ใช่แค่ความอดทนต่ำลงแต่ต้องการความเร็วที่เพิ่มมากขึ้น

7. เอาใจยากขึ้น เพราะความคาดหวังที่สูงขึ้น ตัวเลือกที่มากขึ้น ดังนั้นการนำเสนอสินค้าและบริการภายใต้สถานการณ์ที่หลากหลายจึงดูไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลย หากแต่ต้องรอคอยใจเย็นๆ ดีงสติของตนเองกลับมา สนทนากับลูกค้าแบบไม่เร่งรีบเพื่อนำเสนอสิ่งที่ลูกค้าต้องการให้ตรงจุด

8. ความจงรักภักดีลดลง เรื่องไม่เป็นเรื่องนิดเดียวลูกค้าก็จากเราไปแล้ว แค่พนักงานจิกตาใส่ลูกค้าคนเดียวครั้งเดียวลูกค้าก็จากไปแล้วครับ ความผิดพลาดต้องไม่เกิดแม้จะเป็นเรื่องที่เล็กน้อยขนาดไหน ยิ่งใส่ใจรายละเอียดมากเท่าไร เรายิ่งรักษาความจงรักภักดีกับลูกค้าได้มากเท่านั้น

ลูกค้าต้องการอะไร
สิ่งที่ลูกค้าต้องการจริงๆ มีไม่เยอะครับเราแทบจะรู้กันอยู่แล้วแต่บางทีเราอาจหลงลืมไปบ้างก็ได้ เราลองมาทบทวนกันดูครับ 4 อย่างที่ลูกค้าต้องการ

1. รู้จักฉันจริงหรือเปล่า เมื่อลูกค้าเข้ามาหาเรา เราก็ควรจะรู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร เวลาลูกค้าถามเราลูกค้าก็ต้องการคำตอบและวิธีการ หากเราไม่ตั้งใจฟังและตัดสินไปก่อนจะทำให้เข้าใจลูกค้าผิดพลาดำปจากสิ่งที่ลูกค้าต้องการจริงๆ ดังนั้นฟังอย่างตั้งใจ

2. เข้าใจฉันหน่อย เคยไม่ครับ ไปกินไก่ทอดในห้าง ซื้อมาแล้วกินไม่หมดอยากใส่ถุงกลับบ้าน แต่แถวซื้อไก่ยาวมาก ลูกค้าแค่เดินตัดคิวเพื่อมาของถุงใส่ไก่กลับบ้าน กลับโดนพนักงานต่อว่าให้ไปต่อแถว จะบอกว่าลูกค้าไม่ได้ซื้อแค่หยิบถุงให้ แค่เข้าใจลูกค้า ข้อร้องครับ ช่วยเข้าใจลูกค้ากับสิ่งที่ลูกค้าทำ คุณจะเข้าใจว่าทำอย่างไรจะสร้างความประทับใจได้

3. บอก / แนะนำฉันหน่อย จะซื้อของในห้างราคาแพง ก็แค่อยากรู้ว่าใช้งานยังไง มีบริการส่งไหม ประกันยังไง บอกฉันเถอะ พนักงานส่วนใหญ่มักมองข้าม ถ้าลูกค้าไม่ถามก็ไม่บอกลูกค้า ปล่อยลูกค้าคิดไปเองและเกิดเป็นปัญหาในภายหลัง เคยเจอไหมครับซื้อเสื้อผ้าไป ซักแล้วสีตก โดยไม่รู้มาก่อนเลยว่าสีตก ถ้าพนักงานบอกล่วงหน้าและวิธีการซักผ้าสีตกน่าจะดีไม่ใช่น้อยนะครับ

4.  ช่วย / บริการฉันหน่อย ลูกค้าไม่ได้ต้องการให้คุณแบกหามเดินภายในห้างหลอกครับ ขอแค่ความช่วยเหลือนิดๆหน่อยครับ ขอลองรองเท้าหน่อยครับ คู่นั้นก็สวยนะครับ ผมไม่มั่นใจขนาดเท้าผมเลยครับ ปัญหาส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากพนักงานไม่ช่วยอย่างเดียวแต่มักเกิดจาก ช่วยอย่างไม่เต็มใจ ชักสีหน้า จิกตา ไม่ยิ้มแย้ม พูดจาว่าร้าย ดังนั้นทุกครั้งที่ทำงาน คิดว่าเป็นเวที เต็มที่ทุกครั้งและทุกวันที่ขึ้นเวที สิ่งดีๆจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนครับ

และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ สิ่งที่ลูกค้าต้องการคือเดี่ยวนี้ครับ ไม่ใช่พรุ่งนี้หรือเดือนหน้าแต่เป็นตอนนี้และเดียวนี้เท่านั้น

ความคาดหวังของลูกค้า
- ความคาดหวัง คือ ความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งที่จะได้รับและความคาดหวังนี้ถูกใช้เป็นบรรทัดฐานในการประเมินคุณภาพของการบริการ
- ความคาดหวังของลูกค้า คือ จุดเริ่มต้นของทุกอย่าง

เมื่อลูกค้าอยู่ในร้านลูกค้าคาดหวังอะไร
↣ สิ่งที่ลูกค้าคาดหวังเมื่ออยู่ในร้าน คือ การสัมผัสสินค้า ได้รับความสนใจ ค้นหาสินค้า ได้รับคำแนะนำจากพนักงาน ได้รับความเอาใจใส่ ได้ราคาที่ดี
↣ สิ่งที่ลูกค้าไม่ต้องการ คือ เข้าคิวยาว ไม่มีพนักงานคอยให้ความช่วยเหลือ พบเจอคำถามที่ไร้สาระ เสียเวลาอ่านข้อมูลสินค้า พนักงานไม่สุภาพ สินค้าหมด

ซึ่งความคาดหวังของลูกค้ามีระดับอยู่ 2 ระดับคือ ขึ้นต่ำ กับขั้นสูง
ขึ้นต่ำ คือ Adequate Service บริการที่ฉันพอยอมรับได้ คือระดับขั้นต่ำของบริการที่ลูกค้าคาดว่าจะได้รับ และถ้าไม่ได้รับ ลูกค้าจะไม่พอใจ
ขึ้นสูง คือ Desired Service บริการที่ฉันอยากได้ คือ ความคาดหวังที่ลูกค้าหวังไว้ว่าจะได้รับ และเชื่อว่ามีความเป็นไปได้ที่จะได้รับจากการจ่ายเงินเพื่อซื้อบริการนั้นๆ
โดยความคาดหวังที่อยู่ตรงกลางขึ้นสูงกับขั้นต่ำเราจะเรียกว่า
Zone of Tolerance เขตแห่งบริการที่พอรับได้ เขตนี้มีการเปลี่ยนแปลงได้ภายใต้เงื่อนไขที่เปลี่ยนแปลงไปแม้ในลูกค้าคนเดียวกัน

โดยมีปัจจัยต่อความคาดหวังของลูกค้าดังนี้

ปัจจัยที่มีต่อความคาดหวังขั้นต่ำ
ปัจจัยขั้นต่ำ หรือ บริการที่ฉันพอยอมรับได้

1. Customer Role บทบาทของลูกค้าในบริการ (หากลูกค้ารู้สึกว่าตัวเองได้ใช้ความพยายามแล้ว จะทำให้ความคาดหวังขั้นต่ำสูงขึ้น) หมายความว่าถ้าลูกค้าได้พยายามทำบางอย่างด้วยตนเองแล้วลูกค้าจะคาดหวังบางอย่างเพิ่มขึ้น ลองนึกดูว่าคุณไปทานอาหารแล้วคุณยกมือเรียกพนักงานแต่พนักงานไม่เห็น ลูกค้ายังยกมือเรียกอีกครั้ง คราวนี้ลูกค้ามีอารมณ์เพิ่มเข้ามาด้วย แล้วลองคิดดูเล่นๆ ว่ามีครั้งที่สามและพนักงานก็ยังไม่เห็นอีกสิครับ คุณจะรู้สึกอย่างไร คาดหวังอะไรเพิ่มขึ้นอีก (ทั้งที่พนักงานยังไม่ทำอะไรเลยนะครับ) ลูกค้ากลับมีความคาดหวังพุ่งขึ้นสูง เพราะลูกค้าได้พยายามเรียกลูกค้าแล้วนั้นเเอง

2. Service Intensifier ตัวเร่งความคาดหวัง (ตัวแปรระยะสั้น จะทำให้ความคาดหวังขั้นต่ำสูงขึ้น เช่น ไฟฟ้าดับ เกิดเหตุฉุกเฉิน) ไปดูหนังแล้วไฟดับ แอร์เสีย ลำโฟงแตก ไม่ต้องพูดมาทำเพลงเลยครับ เตรียมสำรองบัตรฟรี กับป๊อปคอนร้อนๆ และน้ำโค๊กเย็นๆ  รอได้เลยครับ ความคาดหวังจะพุ่งปรีดสูงขึ้นทันที

3. Options ทางเลือกอื่นๆ ของลูกค้า (ถ้าลูกค้ารู้สึกว่ามีทางเลือกอื่นมาก ก็ไม่จำเป็นที่ต้องทนใช้บริการกับผู้ให้บริการที่ผิดพลาด จะทำให้ความคาดหวังขั้นต่ำสูงขึ้น) ถ้านอนดูหนังอยู่บ้านแล้วอยากกินพิษซ่า ขึ้นมาแค่โทรศัพท์กริ๊งเดียวเท่านั้นก็ได้กิน มาส่งช้า 30 นาทีได้กินฟรี แต่หากร้านที่สั่ง มาส่งช้า ส่งพิษซ่าผิดหน้า ของไม่ครบ คิดราคาผิด ครั้งเดียวครับ ครั้งหน้าก็เจ้าอื่นทันที ดังนั้นเราต้องรู้ก่อนว่าตลาดที่เราอยู่มีคู่แข่งมากน้อยเพียงใด จากนั้นเราต้องใส่ใจในรายละเอียดให้มาก ใส่ใจอย่าให้ผิดพลาด เพราะคู่แข็งเราเยอะอยู่แล้ว ลูกค้าก็จะคาดหวังมากขึ้นด้วย

4. Emergency สถานการณ์สุดวิสัย (เป็นปัจจัยที่ลูกค้ามองว่าอยู่เหนือการควบคุมของผู้ให้บริการ จะทำให้ความคาดหวังขั้นต่ำลดลง) นึกถึงน้ำถ่วมใหญ่ปี 54 ดูครับ ลูกค้ามาเดินซื้อของที่ห้าง แค่มีสินค้าขายลูกค้าก็พอใจแล้ว ไม่จำเป็นต้องครบรุ่นครบขนาดครบรสชาต แค่มีของกินขายก็เหนือความคาดหวังแล้วครับ เพราะลูกค้าเข้าใจทำให้ความคาดหวังลดต่ำลงนั้นเอง

ปัจจัยที่มีต่อความคาดหวังขั้นสูง
ปัจจัยขั้นสูง หรือ บริการที่ฉันอยากได้

1. Word of Mouth การสื่อสารแบบบอกต่อ (ลูกค้ามักจะหาข้อมูลจากการสอบถามผู้ที่เคยใช้บริการมาก่อน) หนังเรื่องนี้สนุกมาก พอไปดูแล้วงั้นๆ ในทางกลับกันถ้าไม่มีใครมาบอกว่าหนังเรื่องนี้สนุกมาก และเราไปดูอาจจะสนุกพอควรก็ได้ เพราะการบอกต่อได้สร้างความคาดหวังขั้นสูงขึ้นมาแล้ว หวังว่าจะต้องสนุกจริง การที่จะต้อนรับความคาดหวังจากการสื่อสาร เราต้องรักษามาตรฐานและความสม่ำเสมอของการให้บริการ โดยบริการทุกระดับประทับใจ

2.  Personal Need ความต้องการส่วนตัว (รสนิยม พื้นฐานด้านสังคม การศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม) ลูกค้ากลุ่มนี้มีความชื่นชอบและอารมณ์เป็นที่ตั้ง อย่าพยายามหาเหตุผล แต่ต้องจับอารมณ์ของลูกค้าให้อยู่หมัด อย่าเพิ่งรีบขาย แต่พูดคุยก่อนเพื่อให้ทราบถึงอารมณ์ของลูกค้าแล้วค่อยนำเสนอสิ่งที่ลูกค้าต้องการ ออกไปฃ

3.  External Communication การสื่อสารกับภายนอกที่องค์กรสร้างขึ้น (เช่น โฆษณา ประชาสัมพันธ์) รักคุณเท่าฟ้า คือสายการบินอะไรครับ 55555 สายการบินไทยนี่เอง แล้วถ้าคุณขึ้นสายการบินไทย แต่พนักงานไม่มองหน้าไม่พูดกับคุณไม่แนะนำ มาสายก็ไม่ให้ขึ้นเครื่อง น้ำก็ไม่มีให้บริการ เปลี่ยนเที่ยวบินก็ไม่ได้ แล้วตรงไหนครับที่ว่ารักคุณเท่าฟ้า ถ้าภาพลักษณ์องค์กรสื่อออกมาสวยามเลิศหรูอลังการงานสร้าง ก็อนุมานได้เลยว่าลูกค้าจะมีความคาดหวังสูงตามไปด้วยอย่างแน่นอน ยิ่งหรูมาก แพงมาก ความคาดหวังจะสูงมากๆ รับประกันครับ อยู่ที่ตัวพนักงานแล้วละครับจะตอบโจทย์ภาพที่องค์กรสร้างได้มากน้อยแค่ไหน

4. Past Experience ประสบการณ์ที่สั่งสมมา (จากการเคยใช้บริการในลักษณะใกล้เคียงกัน) เคยมาใช้บริการสวนน้ำแล้วมันดีจริงๆ มีบริการหาที่นั่งให้ด้วย แนะนำร้านอาหาร บริการฝากของ มีผ้าขนหนูให้ใช้ฟรี แต่พอมาอีกทีทุกอย่างกลับหายไป ในการเลือกตัดสินใจให้บริกาอะไรในครั้งแรกจะสร้างความคาดหวังอย่างต่อเนื่อง ถ้ามันยังอยู่ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่ถ้ามันหายไปมันจะมีปัญหากับความคาดหวังของลูกค้าอย่างแน่นอน

หากเรารู้เช่นนี้แล้วว่า ความคาดหวังของลูกค้ามาจากไหนก็หวังว่าท่านจะสามารถสร้างการบริการที่สามารถตอบรับความคาดหวังของลูกค้าได้ทุกคนนะครับ

องค์ประกอบของบริการที่ยอดเยี่ยม
การบริการที่เราจะสร้างได้ยอดเยี่ยมประกอบไปด้วย

1. Vision  วิสัยทัศน์แห่งการบริการ เป็นการมองบริการด้วยสายตา หรือจากมุมมองของลูกค้า การยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางแห่งงานบริการ การวางแผนบนพื้นฐานของข้อมูลที่ได้จากลูกค้า นอกจากลูกค้าแล้วไม่ว่าคุณจะสร้าง วิสัยทัศน์แบบไหน มักตกม้าตายเพราะพนักงานไม่รู้วิสัยทัศน์ของตนเอง เมื่อไม่รู้วิสัยทัศน์ก็ไม่รู้ว่าจะต้องให้บริการแบบไหน "อาณาจักรแห่งความสุขทุกครอบครัว" คุ้นๆ ไหมครับ คำถามคือ พนักงานรู้ไหมครับ แล้วถามต่อถ้าพนักงานรู้แล้วบริการลูกค้าแบบไหน ลองไปคบคิดดูเล่นๆนะครับ ว่าเข้าใจตรงกันหรือไม่อย่างไร

2. Skill ทักษะในงานบริการ ซึ่งพนักงานต้องได้รับการฝึกฝน รวมทั้งทักษะด้านการสื่อสาร ลูกค้าลื่นล้มในห้าง พนักงานต้องพูดอะไรกับลูกค้า ต้องช่วยเหลือลูกค้าอย่างไร นี่คือสิ่งที่ต้องได่้รับการฝึกฝนครับ เวลาเกิดปัญหาแล้วเราสามารถตอบสนองได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที ในการบริการมีเคสที่น่าสนใจเยอะ นำเคสต่างๆ มาศึกษาแล้วลองกำหนดวิธีการ เมื่อเกิดซ้ำเราจะได้ เชี่ยวชาญขึ้นในทันที

3. Empathy ความเข้าใจลูกค้า ชนิดสามารถนั่งอยู่ในใจลูกค้าได้ สามารถให้บริการลูกค้าอย่างแตกต่างเป็นรายบุคคลได้ อยู่ที่ความจำของพนักงานแล้วครับ บางทีต้องมีการจด เช่น โรงแรมจะรู้ว่ารู้ค้าคนนี้ชื่อนี้ชอบห้องพักแบบไหน ร้านอาหารจะรู้ว่าลูกค้าประจำของตนชอบอาหารอะไร แพ้อะไร ทุกอย่างอยู่ที่การสื่อสารพูดคุยและจดจำ ลูกค้ายินดีพูดคุยกับพนักงานครับ แต่พนักงานรู้หรือไม่ว่าควรพูดคุยอย่างไรกับลูกค้า

4. Responsiveness การตอบสนองอย่างเต็มใจและรวดเร็ว ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดขึ้นได้จากการกำหนดขึ้นตอนของการให้บริการที่เหมาะสม คือการรู้ขั้นตอนและลงมือทำอย่างเหมาะสม มีคำอยู่สองคำคือ "รวดเร็ว" กับ "รีบร้อน" รวดเร็วคือการทำตามขั้นตอนของงาน ส่วนรีบร้อนคือล้นจนเกิดความผิดพลาด นั้นเอง ดังนั้นการกำหนดขั้นตอนให้บริการเป็นสิ่งที่จำเป็นแต่ต้องสามารถยืดหยุ่นได้เช่นเดียวกัน

5. Vigor การสร้างความเข้มแข็งในงานบริการ จากพนักงานที่มีความเข้มแข็งทั้งกายและใจ สุขภาพร่างกายสำคัญสุขภาพดีภาพลักษณ์ดี จิตใจดีเข้าถึงได้ ดังนั้นร่างกายและจิตใจต้องมาพร้อมกันสร้างให้เกิดความแข็งแกร่งทนทานต่อความกดดันใด และรู้สติอยู่กับลมหายใจอยู่ตลอกเวลา

6. Evaluation การประเมินผลการบริการ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้นและรักษาลูกค้าไว้ได้อย่างยาวนาน ปัญหาหนึ่งคือประเมินแบบหลอกๆ ประเมินให้ผ่านโดยพวกของตนเอง ผิดวัตถุประสงค์ของการประเมิน สิ่งที่ต้องทำการประเมินคือรู้ว่า บริการที่ได้วางแผนนั้นประสบผลอย่างไรบ้าง ต้องปรับปรุงหรือพัฒนาต่อยอดอย่างไรต่างหาก

การบริการเฉพาะตัวสร้างได้ 
การบริการให้ลูกค้ารู้สึกพิเศษเฉพาะตัวสร้างได้ แค่ "ทำ รู้ มี"

ทำ สิ่งที่ถูกต้องสำหรับลูกค้า อย่าง สม่ำเสมอ เป็นมืออาชีพ และเชื่อถือได้ นั้นคือสิ่งที่ต้องทำ บริการเหมือนเดิมและพัฒนาขึ้นอย่างไม่มีวันหยุด จะแสดงให้เห็นถึงความเป็นมืออาชีพ และจะได้รับความไว้วางใจเชื่อถือจากลูกค้ากลับมา

รู้ ว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น โดย ทำอย่างฉลาด คิดถึงใจคนอื่น แบบให้ความร่วมมือ รับรู้ถึงปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า จากนั้นให้ความร่วมมือช่วยเหลือและส่งมอบบริการให้กับลูกค้า โดยคิดถึงใจลูกค้าอยู่เสมอ ทำได้แบบนี้ลูกค้ารักตายเลยครับ

มี อารมณ์ร่วมกับลูกค้า แบบ เป็นส่วนตัว มีความหมาย และเข้าถึงใจ มนุษย์ตัดสินด้วยอารมณ์แต่อธิบายการตัดสินใจด้วยเหตุผล ไม่มีใครไม่มีอารมณ์การดึงลูกค้ามาเป็นพวกคือ การมีอารมณ์ร่วมไปกับลูกค้า ลูกค้ารู้สึกโกรธเราก็ควรมีความรู้สึกรู้ว่ารู้ค้าโกรธและควรเศร้าเพื่อตอบอารมณ์โกรธ ลูกค้ารู้สึกหงุดหงิด เราก็ควรรู้สึกอยากแสดงความรับผิดชอบให้รู้ค้ารู้สึกว่าพนักงานได้ตอบสนองกับอารมณ์ของลูกค้าด้วย

"ทำ รู้ มี" ถึงจะไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้ทุกครั้งไป แต่ลูกค้าจะรู้ถึงความพยายามและเข้าใจพนักงานให้ลูกค้าผูกพันธ์กับพนักงานดีกว่าขัดแย้งกับแบรน และลูกค้าจะหลงรักในงานบริการของคุณครับ

ที่สุดของความสมบูรณ์แบบของการบริการ
การบริการที่สมบูรณ์แบบ คือ การบริการที่เป็นส่วนตัว และ การบริการไร้รอยต่อ (Seamless Service)
"ผ้าที่ตัดเย็บอย่างดีเมื่อใช้มือลูบคลำไปบนเนื้อผ้าจะไม่สะดุดรอยตะเข็บเลย การบริการก็เฉกเช่นเดี่ยวกัน ต้องให้บริการแบบไร้รอยสะดุดของตะเข็บ ต้องบริการอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างของการบริการที่ยังมีรอยตะเข็บ เช่น การบริการระหว่างพนักงานขายและพนักงานบริการ พนักงานดูแลลูกค้ากับส่วนบริการงานซ่อม"
ดังนั้นบุคคลเดียวบริการไม่ได้ ต้องบริการเป็นทีม ทีมงานทุกฝ่ายต้องร่วมใจกันบริการแบบไร้รอยต่อเพื่อนำไปสู่ที่สุดของบริการสมบูรณ์แบบ

เรียนรู้ที่จะฟังลูกค้า
อยากแก้ปัญหาของลูกค้าได้ เราต้องรู้จักฟังแต่โดยปกติมนุษยทุกคนชอบพูด ขนาดธรรมชาติยังต้องให้หูมาสองข้างเพื่อที่จะฟัง และให้ปากมาเพียงหนึ่งเพื่อจะได้ฟังมากกว่าพูดแต่มนุษย์ก็ไม่แคล้วพูดมากกว่าฟัง เพื่อจะได้ฟังลูกค้าให้เข้าใจมีวิธีการฝึกอย่างหนึ่งเรียกว่า "ฝึกเงียบ" วิธีคือถ้ามีคนพูดอยู่เราจะไม่พูดแทรกเราจะรอจนคนนั้นพูดจบหรือทุกคนหยุดพูด เท่านั้นละครับ ลองฝึกดูนะทำได้ประการใดบอกกลับมาด้วยนะครับ ไม่ว่าจะอยู่ที่บ้าน ที่ทำงาน ถ้ามีคนพูดอยู่เราจะไม่พูดนะครับทุกท่าน

ที่มาของความไม่พอใจของลูกค้า
1. สาเหตุมาจากตัวลูกค้าเอง เดี่ยวเราจะมาดูให้ลึกลงไปว่า ลูกค้าที่มีปัญหาหน้าตาเป็นแบบไหน
2. สาเหตุจากบริษัท สินค้าไม่ครบ การตั้งราคาไม่เหมาะสม กฎระเบียบมากเกินความจำเป็น
3. สาเหตุจากสินค้า ไม่ได้คุณภาพไม่ตอบโจทย์สิ่งที่โฆษณา
4. สาเหตุจากงานขายและการตลาด สื่อสารออกไปได้ไม่ดีไม่เหมาะสม
5. สาเหตุจากกระบวนการ ยุ่งยาก รอนาน นึกถึงตอนไปโรงพยาบาลรัฐ สิครับ ขั้นตอนเยอะขนาดไหน
6. สาเหตุจากพนักงาน อันนี้แก้ไข้ได้โดยเริ่มจากตัวเราเองเป็นอย่างแรกเลยครับ

ประเภทของลูกค้าที่มีปัญหา
ลูกค้าส่วนใหญ่ที่เข้ามาในห้างมักไม่ค่อยมีปัญหาอะไรครับ แต่เมื่อไรที่ความคาดหวังผดไปปัญหาจะเกิดดังนั้นเมื่อมีปัญหาและเราสามารถทราบได้ว่าลูกค้าเป็นประเภทแบบไหนน่าจะช่วยให้เราแก้ไขปัญหาได้บางพอสมควร โดยลูกค้ามีประเภทดังนี้

1. The Meek Complainer ลูกค้ามักจะหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าและไม่ยอมแสดงความไม่พอใจขณะที่ใช้บริการ

2. The Aggressive Complainer ลูกค้าจงใจแสดงความไม่พอใจให้ใครก็ตามที่รับฟังและไม่สนใจคำอธิบาย แต่ตอบโต้ไม่เก่งถ้าเจอคนที่ตอบโต้รุนแรงกลับมา เจอประเภทนี้อย่าใช้น้ำเสียงสูงให้พยายามดึงตัวไปที่ออฟฟิศ หรือที่ๆจัดให้กับลูกค้าพักผ่อน ถ้าลูกค้าไม่ยอมไปให้หาร้านกาแฟ ทำให้ลูกค้านั่ง และหาน้ำให้ดื่ม จะช่วยได้อย่างไม่น่าเชื่อ

3. The Rip - off complainer ลูกค้าไม่ได้ต้องการให้ปัญหาจบตามเหตุผลที่ควรจะเป็น แต่มองหาสิ่งชดชเยที่มากกว่านั้น เมื่อพนักงานนำเสนอวิธีการแก้ปัญหาเท่าไร ลูกค้าประเภทนี้จะบอกว่า "ยังดีไม่พอ" ดังนั้นสิ่งที่เราจะทำคือยื่นคำขาดแค่ที่เป็นเหตุเป็นผลเท่านั้น ห้ามให้มากกว่าสมควรได้เพื่อนจะเป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ให้กับความต้องการของลูกค้า

4. The Chronic Complainer ลูกค้ามักจะไม่พอใจกับอะไรง่ายๆ และชอบจับผิดแต่มีเหตุผลมากกว่า Rip - Off complainer คือมีเหตุมีผลแต่ต้องได้รับการตอบสนองตามที่คาดหวังไว้นั้นเอง

5. The High - Roller Complainer ลูกค้าต้องการการแก้ไชปัญหาที่ดีที่สุดและยินดีจ่าย เป็นกลุ่มที่ค่อนข้างมีเหตุผล ลองนึกถึงลูกค้าที่หกล้มในห้างแล้วต้องการให้ห้างจัดการอบรมให้ความรู้เรื่องการรับมือกับอุบัติเหตุในห้างสิครับ นั้นคือมีเหตุผลเพื่อพัฒนามาตรฐานการบริการเลยนัครับ

การแก้ปัญหาเมื่อลูกค้าไม่พอใจ 
เมื่อเราต้องแก้ปัญหาให้กับลูกค้าที่ไม่พึงพอใจก็มีวิธีการที่เป็นกระบวนการในการแก้ไขปัญหาได้ดังนี้

1. Listen การรับฟัง เมื่อพบลูกค้าที่อารมณ์เสียสิ่งแรกที่พึงปฏิบัติคือการรับฟังด้วยความใส่ใจแสดงความจริงใจด้วยการใช้สายตา ต้องทำใจเข้าใจลูกค้า เอาใจเขามาใส่ใจเรา ฟังด้วยสติ
2. Identify การระบุปัญหา เมื่อเราฟังลูกค้าสิ่งที่เราต้องการรู้ให้แน่ใจเพื่อทราบให้ได้ว่า ปัญหาคืออะไร แล้วทบทวนทำความเข้าใจกับลูกค้าว่าปัญหาคืออะไร
3. Sympathy การแสดงความเห็นอกเห็นใจ คือการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งเสมือนเป็นปัญหาใหญ่หลวงของเราด้วย ลูกค้าจะรู้สึกเหมือนเป็นพวกเดี่ยวกับเราในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
4. Task & Thank การแสดงความขอบคุณลูกค้าที่ลูกค้าให้โอกาสและยอมรับการขอโทษ ต้องรู้สึกว่าทุกปัญหาคือของขวัญในการปรับตัวและที่ลูกค้าแสดงออกมาให้เห็นทำให้เราได้พัฒนานำคู่แข่ง ในทางกลับกันถ้าลูกค้าไม่บอกปัญหากับเรา เราก็เหมือนอยู่กลางทะเลที่มืดมนไม่รู้หนทางแห่งดวงดาวในการเดินทางไปให้ถึงจุดหมายของการเดินทาง
5. Explain การอธิบายรายละเอียดให้ลูกค้าทราบว่าจะดำเนินการแก้ไขอย่างไร หลังจากทราบปัญหาเป็นหน้าที่ของเราที่ต้องหาแนวทางแก้ไขปัญหานั้นและเรียนให้ลูกค้าทราบถึงทางออก แต่จำไว้เสมอว่าทางออกไม่ได้มีแค่หนึ่ง มันมีมากกว่านั้นฉะนั้นอย่าด่วนสรุปว่าถ้าไม่ไปทางซ้ายก็ไม่ต้องไปยังไงก็มีทางขวาอยู่หรือเลือกจะเดินไปข้างหน้าก็ยังได้
6. Now action การแก้ปัยหาให้ลูกค้าทันที และส่งเอกสารยืนยัน อาทิ Email เรื่องที่พูดคุยกับลูกค้า เพื่อเป็นการเน้นยำว่าปัญหาของลูกค้าจะได้รับการแก้ไขจริง และอยู่ในความสนใจขององค์กร อย่างปล่อยให้เหมือนกับหลายๆองค์กรที่มีประโยคสุดฮิต "ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะ" แล้วจบลงแค่ตรงนั้น

การรับมือลูกค้าที่กำลังโกรธ
เมื่อเกิดปัญหาและลูกค้ากำลังโกรธสิ่งที่เราต้องมีคือสติ อย่างให้สติหลุดลอยไปเป็นอันขาด แต่จงฝึกฝนการมีสติแล้วดำเนินการต่อไปนี้
1. ถ้าเผชิญหน้ากับลูกค้า คุณควรแสดงความจริงใจหนักแน่นทางสีหน้าและท่าทาง โดยรักษาระดับอารมณ์ให้นิ่งตลอดการสนทนา
2. เรียกความสนใจของลูกค้าด้วยการเรียกชื่อลูกค้าเป็นระยะ และสบตาพร้อมหาโอกาสกล่าวประโยคสั้นๆ (ครับ/ค่ะ) เพื่อแสดงการรับรู้ถึงความโกรธของลูกค้า
3. แสดงออกถึงความเห็นใจและรับรู้ในประเด็นที่ลูกค้าตำหนิ แต่อย่าหลงอ้างว่าพนักงานที่เกี่ยวข้องไม่มีความสามารถหรือบริษัทมีปัญหา มันคือการขายตนเอง
4. พยายามรวบรวมข้อเท็จจริงจากการรับฟังลูกค้า และรักษาระดับอารมณ์โดยระมัดระวังโทนเสียงและระดับความดังของเสียง
5. กล่าวโทษสำหรับความไม่สะดวกที่เกิดขึ้น
6. แจ้งวิธีการแก้ไขปัญหาให้ลูกค้า
7. สอบถามลูกค้าว่าต้องการให้บริษัททำอะไรเพิ่มเติมเพื่อทำให้ปัญหาคลี่คลาย
เห็นไหมครับวิธีง่ายแค่ 7 อย่างเราก็สามารถรับมือกับอารมณ์และความโกรธของมนุษย์ได้แล้ว

เทคนิคการปฏิเสธให้ได้ใจลูกค้า
แน่นอนว่าเราอาจจะไม่สามารถให้ตามความต้องการของลูกค้าได้ในทุกกรณี ดังนั้นวิธีการปฏิเสธอย่างมีศิลปะก็สำคัญไม่ใช่น้อยเลยทีเดี่ยว

1. ใช้ภาษาที่เป็นเชิงบวก เช่น ดิฉันยินดีมากค่ะที่ได้บริการคุณลูกค้า,ดิฉันขอโทษอย่างยิ่งที่ทำให้คุณลูกค้าไม่ได้รับความสะดวก สิ่งที่ดิฉันสามารถทำได้ทันทีคือ ........., ดิฉันขออนุญาตแนะนำดังนี้......

2. ค้นหาข้อเสนอที่ใกล้เคียงที่สุด พยายามหาก่อนว่าอะไรที่สามารถทดแทนได้บ้าง

3. ให้คำอธิบายที่ชัดเจนและละเอียดเพียงพอ พยายามหาวิธีอื่นเพิ่มเติมในการอธิบายประเด็นที่ลูกค้าร้องขอ หรือลองยกตัวอย่างกรณีที่มีลักษณะคล้ายกัน

4. แสดงให้ลูกค้าเห็นถึงความพยายามในการตอบสนองต่อคำขอ เช่น ดิฉันเข้าใจคุณลูกค้าและได้รองปรึกษากับหัวหน้าดูแล้วในกรณีนี้ แต่เนื่องจากนโยบายบริษัททำให้ดิฉันไม่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการตามที่คุณลูกค้าร้องขอมาได้ ดิฉันต้องขออภัยอย่างยิ่ง

การแจ้งข่าวให้ลูกค้าควรแจ้งข่าวดีก่อนข่าวร้ายและแจ้งอย่างเป็นเหตุเป็นผล เช่นลูกค้านำเครื่องใช้ไฟฟ้าราคา 8,000 บาทมาซ่อม พนักงานโทรกลับไปบอกลูกค้าว่าค่า ซ่อม 12,000 แล้วใครจะไปซ่อมละครับ ลองนึกถึงเวลามีคนมาบอกอะไรเราอย่างนี้สิครับ ดังนั้นจะดีกว่าไหมถ้าเสนอทางออกให้ลูกค้าก่อนที่จะบอกราคาค่าซ่อม เช่น จากการตรวจสอบช่างลงความเห็นว่าค่าซ่อมมีราคาสูงกว่าราคาของสินค้าทางเราแนะนำว่าในกรณีนี้ถ้าซื้อสินค้าใหม่จะมีราคาที่ถูกกว่า ลองนึกถึงพัดลมเก่าๆใช้มา 10 ปี ดูแล้วกันครับซ่อมคุ้มกว่าซื้อใหม่หรือเปล่า

กู้ศรัทธาให้งานบริการ
พนักงานใหม่บริษัท โดมิโนพิษซ่า เล่นพิเลน ถ่ายคลิปถุยน้ำลายลงในพิษซ่าแล้วนำไปส่งลูกค้า เสียงตอบรับกลับมาคือยอดขายลดลงถล่มถลาย เกือบศูนย์พันธ์กันไปเลยทีเดี่ยว แต่โดมิโนพิษซ่าสามารถกลับมาได้เพราะอะไร มีวิธีการง่ายๆดังนี้ครับ

Recognize ยอมรับว่าเรื่องเกิดขึ้นแล้ว เปิดใจยอมรับฟังปัญหา เข้าใจผลกระทบจากมุมมองของลูกค้า และเห็นใจที่ลูกค้ารู้สึกเช่นนั้น

Apologize ขอโทษลูกค้าสำหรับสิ่งที่เกิดขึ้นและความไม่สะดวกตลอดจนความเครียดจากปัญหาเหล่านี้

Resolve แก้ปัญหาอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ บางครั้ง หมายถึง "ความยืดหยุ่นกับกฎระเบียบบ้าง"

Recovery ชดเชยให้ลูกค้าด้วยวิธีที่เหมาะสม

Improve ปรับปรุงโดยควรรวบรวมข้อมูลจากกรณีที่ใกล้เคียงกัน เพื่อความเข้าใจเชิงลึก และขับเคลื่อนไปสู่บริการที่ดีกว่าเดิม

บริษัท โดมิโน พิษซ่า จัด Focus Group เพื่อขอความเห็นจากลูกค้า จากนั้นปรับปรุงพิษซ่าจากความเห็นของลูกค้าและนำส่งสินค้าและบริการแบบที่ลูกค้าต้องการและผ่านพ้นไปได้ด้วยดี

บทสรุป
การแก้ไขปัญหาและการสร้างบริการที่ยอดเยี่ยมไม่ได้ยากเลยครับ แค่เราใส่ใจในตัวลูกค้าและตอบสนองความคาดหวังที่ลูกค้าไม่คาดหวังมาก่อน มีสติเมื่อเกิดปัญหาและช่วยเหลือด้วยความจริงใจ รับรองประทับใจลูกค้าทุกคนแน่นอนครับ

สิ่งที่ท่านได้อ่านมานี้มาจากการอบรม และงานเขียนนี้เพื่อทบทวนความรู้เท่านั้น ไม่ได้หวังประโยชน์แต่ประการอื่นใดทั้งสิ้น หากผิดพลาดประการใดขอน้อมรับผิดไว้ที่นี้ และทบทวนเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้นคัรบ

วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2559

The Japan Spirit Service


21 ตุลาคม 2559 @ Mall Group Academy 

อาจารย์กฤตินี พงษ์ธนเลิศ แบ่งปันประสบการณ์การบริการแบบญี่ปุ่นที่ได้รับการยิมรับในความใส่ใจจากทั่วโลกนั้นเป็นแบบไหนและมีวิธีการคิดอย่างไร ถือได้ว่ามีประโยชน์อย่างสูงในการนำหลักการมาพัฒนาการบริการเป็นอย่างยิ่ง

อาจารย์กฤตินี เป็นคอลัมส์ Facebook : Japan Gossip by เกตุวดี Marumura
เรียกว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญวัฒนธรรมจากประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะเรื่องการบริการจาก ร้านอาหาร ห้างสรรสินค้า ศูนย์การค้า ตลาด ขนส่งมวลชน ฯลฯ เรียกว่าหลากหลายและครอบคลุม

อาจารย์เริ่มต้นด้วยการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน เช่น การต้มบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปโดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า Cupmen

เวลาเราต้มมาม่า เราก็ใช้อะไรที่แข็งมาปิดฝาเมื่อเพื่อรอให้มาม่าสุกแล้วรับประทาน แต่ Cupmen แก้ปัญหาเรื่องการปิดฝาและสามารถบอกได้ว่ามาม่าสุกพร้อมรับประทานในเวลาที่เหมาะสมเมื่อ Cupmen เปลี่ยนสีทั้งตัว โดยไม่ต้องคอยเปิดดูเรื่อยๆ นี้คือวิธีแก้ปัญหาที่สะท้อนกระบวนการคิดนั้นเอง

ต่อมาเรื่องของความละเอียดโดยอาจารย์แนะนำเรื่องของการแบ่งฤดูกาลในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งคนญี่ปุ่นแบ่งฤดูการออกเป็นถึง 24 ฤดู


แสดงให้เห็นถึงความละเอียดของการสังเกตุและการแบ่งเพื่อให้สามารถเตรียมความพร้อมในการใช้ชีวิต

อาจารย์สรุปว่าโดยพื้นฐานคนญี่ปุ่นมีลักษณะส่วนตัวอยู่ 4 อย่างที่เป็นพื้นฐานในการออกแบบการบริการแบบญี่ปุ่นคือ

1. ใส่ใจคนรอบตัว เช่น ระหว่างการนั่งรถทั่วสมมุติว่าคนข้างหน้าจะปรับเบาะให้เอนไปข้างหลังคนข้างหน้าจะหันไปบอกคนข้างหลังก่อนเผื่อว่าคนข้างหลังจะวางของไว้ที่ด้านหลังเบาะจะได้เก็บออกได้ทัน
2. แคร์สายตาคนอื่น เวลาคนญี่ปุ่นขึ้นลิฟท์จะต้องกล่าวขอโทษคนในลิฟท์เวลาขึ้นที่ทำให้เสียเวลา หรือเวลาลงก็จะหันมาขอโทษคนในลิฟท์ที่ทำให้เสียเวลา หรือแม้แต่การเข้าห้องน้ำที่ต้องมีการใช้เทคโนโลยีมีเสียงเพลงเวลาทำธุระส่วนตัวเพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้ใช้ห้องน้ำท่านอื่นนี้เอง
3. เกรงใจกันและกัน เวลาใช้ห้องน้ำเสร็จคนญี่ปุ่นจะปิดฝาโถส้วนทุกครั้ง เพื่อสร้างความสบายตาให้แก่ผู้ใช้บริการท่านต่อไป สร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวต่างวัฒนธรรมอย่างดีเยี่ยม
4. ละเอียดอ่อน ร้านขายเค้กแห่งหนึ่งที่อาจารย์เล่าให้ฟัง ในกล่องใส่เค้กจะมีทั้งช้อนและซ้อม เพราะเค้กแต่ละประเภทมีวิธีการกินที่แตกต่างกันลูกค้าจะได้รับประทานได้อย่างมีความสุข

อาจารย์สรุปว่า การบริการแบบญี่ปุ่นคือ การคิดถึงลูกค้าเป็นหลัก การคิดถึงคนอื่นว่าคนอื่นจะเป็นอย่างไรคือ การใส่ใจ ใส่หัวใจของเราให้กับผู้อื่น เกิดจากความปรารถนาดีต่อผู้อื่น 

จากหลักการคุณลักษณะ และการใส่ใจนำมาสู่การบริการ โดยใส่ใจในผู้อื่น

พลังมโน
อาจารย์เล่าว่าเคยทำงานที่ห้างสรรพสินค้าในประเทศญี่ปุ่น ตอนนั้นอาจารย์ขายเค้กให้กับลูกค้าและหัวหน้าพนักงานขายก็เดินมาคุยกับอาจารย์ว่า เมื่อกี้ขายเค้กไปแล้วลูกค้าจะต้องนำไปทานกับครอบครัวมีพ่อแม่ลูกนั่งทานเค้กกันอย่างมีความสุขแน่แน่เลย อาจารย์ก็คิดขึ้นมาว่าลูกค้าก็ไม่ได้บอกอะไรเราแล้วทำไม ถึงคิดว่าลูกค้าจะนำเค้กไปทานลักษณะไหน เรื่องนี้อาจารย์ชี้ถึงความสามารถในการมโนถึงความสุขของลูกค้าจากพนักงานบริการ ว่าลูกค้าจะได้รับความสุขจากสินค้าและบริการได้อย่างไร ลองคิดดูนะครับทุกครั้งที่เราให้บริการหรือขายสินค้าแล้วเราลองคิดถึงว่าลูกค้าจะมีความสุขได้อย่างไร เราจะมีพลังในการพัฒนาสินค้าและการบริการขนาดไหน ผมว่ามหัศจรรย์มากๆเลยครับ

ถ้าทุกครั้งที่เรามโนถึงความสุขที่ลูกค้าหรือผู้อื่นจะได้จากเราสิครับ ผมเชื่อมาเราจะสามารถส่งมอบความสุขได้อย่างไม่น่าเชื่อและผลลัพธ์ที่ได้ก็คือความประทับใจ และไอ้ความประทับใจนี้ละครับที่เป็นตัวส่งเสริมให้เราสามารถอยู่รอดได้ในตลาดปัจจุบันที่มีการแข่งขันกันสูง เพราะความประทับใจจะทำให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการและบอกต่อให้กับผู้อื่นยังไงละครับ

ความประทับใจ   -----เกิดจาก -----คาดไม่ถึง -----เกินความคาดหวัง

ความแตกต่าง
"ถ้ามัวแต่รอคำสั่งก็เหมือนกับเครื่องจักร มนุษย์เท่านั้นที่สามารถใช้หัวใจทำงานได้"
"ยิ่งทำให้คนอื่นมีความสุขมากเท่าไร เรายิ่งมีความสุขมากเท่านั้น"


คุณนีทสึ ฮารุโกะ มีคุณพ่อเป็นคนญี่ปุ่น คุณแม่เป็นคนจีน เดินทางมาญี่ปุ่นโดยไม่สามารถพูดภาษาญี่ปุ่นได้เลยการหางานจึงยากลำบาก แต่สุดท้ายเธอก็ได้เป็นพนักงานทำความสะอาดเพราะไม่ต้องใช้ภาษามากนัก แต่เมื่อเธอได้งานนี้เธอก็มีความชอบ และคิดเสมอว่ามีวิธีไหนบ้างที่จะทำให้สามารถทำความสะอาดได้ดีขึ้น และเธอมีความสุขทุกครั้งที่ลูกค้าเข้ามาใช้บริการห้องน้ำและทำหน้าตกใจเมื่อเห็นห้องน้ำสะอาดมาก จนสนามบินฮาเนดะได้รับรางวัลสนามบินที่สะอาดที่สุดในโลก เธอมีพลังมโนขั้นสูงเช่นเห็นเด็กน้อยวิ่งเล่นที่พื้น เธอก็คิดว่าหากมีสิ่งสกปรกหล่นอยู่เด็กอาจจะหยิบกินได้ฉะนั้นจึงต้องทำความสะอาดให้ดีที่สุดเพื่อไม่ให้มีเศษขยะหลงเหลืออยู่ หรือนักธุรกิจที่เดินทางมายังสนามบินฮาเนดะ เธอก็จะคิดไปว่านักธุรกิจจะเดินทางไปประชุมที่สำคัญถ้าเดินผ่านสนามบินที่สะอาดก็จะทำให้ผู้ใช้บริการสบายตาและมีความรู้สึกที่ดี

จากการคิดแบบนี้ เธอจะทำความสะอาดและดูแลโดยที่ไม่ต้องมีใครมาค่อยสั่งแต่จะทำด้วยหัวใจ โดยเธอมีหลักคิดในการทำงานว่า "ถ้ามัวแต่รอคำสั่งก็เหมือนกับเครื่องจักร มนุษย์เท่านั้นที่สามารถใช้หัวใจทำงานได้" ปัจจุบันเธอมีลูกน้องกว่า 500 คนและได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรสอนการทำความสะอาดจากบริษัทต่างๆมากมาย เห็ไหมครับ ยิ่งทำให้คนอื่นมีความสุขมากเท่าไร เรายิ่งมีความสุขมากเท่านั้น

ความประทับใจ
"ไม่ใช่แค่ให้ลูกค้าพอใจ แต่ต้องทำให้ลูกค้าประทับใจ"









ร้านซักผ้า Rejouir โดยคุณ Furuta Takeru

ร้านซักผ้านี้แตกต่างจากร้านทั่วไปคือความใส่ใจ ทุกครั้งที่คุณลุงได้ผ้ามาจะนำแว่นขยายมาส่องดูว่ามีคราบอะไรบ้างต้องใช้น้ำยาอะไรบ้าง มาตรฐานของคุณลุงคือ ลูกค้าต้องแยกไม่ออกว่าเมื่อซักเสร็จแล้วนี้คือผ้าเก่าหรือผ้าใหม่ ไม่ว่าจะมีผ้าแบบไหนมาลุงแกซักได้หมด ถ้ามีผ้าที่ชำรุดมาคุณลุกก็จะซ่อมให้โดยที่ลูกค้าไม่ได้คาดหวังเลยเพียงแต่คุณลุงเห็น เช่น การเกงที่กระดุมจะหลุดคุณลุกก็จะเย็บกระดุมให้ติดแน่นและเขียนคำอธิบายให้กับลูกค้า

คุณลุงบอกว่าความท้าทายคือปรัญญาการทำงาน มีงานหนึ่งคุณลุงใช้เวลาซักผ้าลูกไม้ 1 ตัวใช้เวลาในการซัก 1 เดือนครึ่ง ถ้าร้านทั่วไปก็คงปฎิเสธงานไปแล้วแต่คุณลุงบอกว่าผ้ามีความทรงจำคุณลุงไม่ได้ซักแค่ผ้าแต่ซักความทรงจำ ก็ไม่แปลกใจเลยว่าร้านคุณลุงจะเป็นที่ต้องการของลูกค้าขนาดไหน

ความสุข

ความสุขมีระดับครับ สามระดับด้วยกัน



















ความสุขระดับแรกคือ ระดับ Pleasure หรือ พึงพอใจ เช่นเราไปกินเลี้ยงกับเพื่อตอนกลางคืนเรามีควาสุขในระยะเวลาสั้นๆ มีความสุขนิดหน่อย เรียกว่าระดับน้อยที่สุดและเกิดขึ้นไม่นาน

ความสุขระดับที่สองคือ ระดับ Passion หรือ ดื่มด่ำ คือการที่เราทำอะไรบางอย่างที่ชื่นชอบอย่างหลงลืมเวลา เช่น ถ้าท่านชอบเล่นหมากรุกท่านสามารถนั่งเล่นได้จนจบเกมส์แม้จะใช้เวลาไปเนินนาน หรือถ้าท่านชอบอ่านหนังสือ นิยาย หนังสือ อ่านเล่น ท่านก็จะอ่านจนหลงลืมเวลา หรือตัวอย่างท่านที่ชอบดูซี่รี่เกาหลี เปิดตอนแรกรู้ตัวอีกทีเช้าแล้ว ถ้าดูตัวอย่างในงานบางคนทำงานที่ชอบได้โดยหลงลืมเวลา ลองดูนักวาดภาพหรือศิลปินซิครับ สามารถวาดรูปได้เรื่อยๆอย่างไม่รู้เวลา

ความสุขระดับที่สามคือ ระดับ Purpose หรือ มีเป้าหมาย / รู้สึกเป็นคนสำคัญ ลองนึกถึงเด็กที่ตั้งใจเรียนหนังสือเพื่อให้ได้เกียรตินิยมแล้วพ่อแม่ภูมิใจสิครับ เด็กคนนี้จะมีความสุขขนาดไหนที่เรียกว่า เรามีเป้าหมาย แล้วได้ทำตามเป้าหมาย หรือการที่เราทำบางอย่างเพื่อผู้อื่นจนขาดเราไม่ได้เพราะเราทำอย่างตั้งใจและชอบเห็นความสุขของผู้อื่นนั้นละครับความสุขระดับ Puspose

ความสุขของมนุษย์มาจากไหน



ท่านประทาน Oyama Kazuhiro จากบริษัท Nihon Rikagaku Kogyo บริษัทผลิตช๊อกแท่ง ได้รับการขอร้องจากสถานรับเลี้ยงผู้พิการทางสติปัญญาให้ผู้มีความพิเศษทางสติปัญญาเข้ามาฝึกงานในบริษัท ตอนแรกคุณ Oyama ก็เป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยแต่สุดท้ายก็ยอมรับเข้ามาทำงาน เมื่อฝึกงานครบตามเวลาที่กำหนดปรากฎว่า พนักงานที่ร่วมงานด้วยคนอื่นๆ มาขอร้องประธานบริษัทให้รับ ผู้มีความพิเศษทางสติปัญญาทั้งสองเข้ามาทำงาน ทำให้คุณ Oyama เกิดความประหลาดใจเป็นอย่างยิ่ง ทำไมผู้มีความพิเศษทางสติปัญญาถึงอยากจะมาทำงานที่บริษัททั้งที่ ถ้าอยู่ที่ศูนย์ดูแลโดยฌฉพาะน่าจะมีความสุขยิ่งกว่า จนคุณ Oyama ได้พูดคุยกับพระในญี่ปุ่นรูปหนึ่งท่านก็บอกคุณ Oyama หลังจากเล่าเรื่องนี้ให้พระฟังว่า

ความสุขของมนุษย์มาจากไหน
1. ได้รับความรักจากผู้อื่น
2. ได้รับคำชมจากผู้อื่น
3. รู้สึกว่าตนเองมีประโยชน์แก่ผู้อื่น
4. รู้สึกว่าตนเองเป็นที่ต้องการของผู้อื่น

คุณ Oyama เลยเข้าใจผู้มีความพิเศษทางสติปัญญาทั้งสองว่า การอยู่ไปวันๆในสถานรับเลี้ยงดูนั้นไร้ความสุขขนาดไหน การได้เข้ามาทำงานในโรงงานช๊อก ทำให้ผู้มีความพิเศษทางสติปัญญาทั้งสองมีความสุขในการสร้างประโยชน์ให้กับผู้อื่นนั้นเอง หลังจากนั้นโรงงานของคุณ Oyama ก็รับผู้มีความพิเศษทางสติปัญญาเข้ามาทำงานมากถึง 50 คนเลยและ 2 ท่านแรกก็ทำงานกับบริษัทจึงกระทั้งเกษียณอายุงานกันเลยทีเดียว

ดังนั้นเพื่อให้เรามีความสุขและสามารถส่งต่อความสุขให้กับผู้อื่นได้ลองถามตนเองว่า สิ่งที่คุณทำและกำลังจะทำนั้น ทำแล้วเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นหรือไม่ ทำแล้วผู้อื่นต้องการหรือไม่ เมื่อคุณทำโดยไม่หวังผลตอบแทน คุณจะได้ความรักจากผู้อื่น ได้รับคำชมกลับมา แล้วความสุขที่คุณส่งให้ผู้อื่นก็จะกลับมาสร้างความสุขให้กับตัวคุณเอง

ลองถามตัวเราครับว่างานที่เราทำหรือสิ่งที่เราทำอยู่มีคุณค่าและความสำคัญอย่างไร ยิ่งมีคุณค่าและความสำคัญกับผู้คนสิ่งนั้นก็จะสร้างความประทับใจ ที่มาจากความสุขและส่ต่อความสุขอย่างแท้จริง

นิยามตนเอง
ลองตั้งคำถามและตอบคำถามต่อไปนี้ดูครับ เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักรู้ให้กับตนเอง

1. ท่านทำงานอะไรอยู่
...................................................................................................................................................................
2. สิ่งที่ทำสร้างความสุขให้กับใคร
...................................................................................................................................................................
3. สิ่งที่เราทำสร้างมาจากอะไร หรือ สร้างอย่างไร
...................................................................................................................................................................
4. ทำไมคนๆนั้นมีความสุขจากสิ่งที่เราทำ
...................................................................................................................................................................
5. งานของท่านเปรียบได้กับอะไรบ้าง เพราะอะไร
...................................................................................................................................................................

5 คำถามครับ ครั้งแรกที่ผมตอบคำถามผมถึงกับสะอึกเลยที่เดียว เพราะเป็นคำถามที่ถามถึงคุณค่าในสิ่งที่เราทำ ฉะนั้นใช้คำถามนี้เพื่อตระหนักรู้ถึงตัวตนของเราก่อน แล้วใช้คำถามนี้ละครับปรับคุณค่าของสิ่งที่เราทำอยู่ให้เหมาะสม และใช้ความคำนี้ละครับสร้างความสุขให้กับคนรอบข้าง

จบแล้วครับ ขอบคุณที่ท่านอ่านมาจนจบ สุดท้ายผมไม่ได้หวังอะไรตอบแทนจากการแบ่งปันในครั้งนี้นอกจากความสุขที่ท่านจะได้รับจากการอ่านและนำไปใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาความสุขให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยื่นสืบไป ขอบคุณอาจารย์กฤตินี ที่แบ่งปันครับ

สิทธินันท์ มลิทอง
27 ตุลาคม 2559

วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2559

Action Learning



Action Learning เป็นกระบวนการที่น่าสนใจอยู่ไม่ใช่น้อย เพราะสิ่งที่ทุกองค์กรแสวงหาอยู่เสมอคือ คำตอบของคำถามที่ถูกต้อง องค์กรต้องมีการเปลี่ยนแปลง หากหวังที่จะได้รับผลลัพธ์ที่แตกต่างแต่ยังคงทำเหมือนเดิมก็อย่างหวังว่าผลลัพธ์จะดีขึ้น ดังคำกว่าวที่ว่า "ทำเหมือนเดิม ได้น้อยกว่าเดิม" เน้นนะครับได้น้อยกว่าเดิม และไม่มีทางได้เท่าเดิมครับมีแต่น้อยลง

แล้ว Action Learning เข้ามาเกี่ยวข้องอะไรด้วย ต้องเล่าอย่างนี้ครับ ที่จะแชร์ในวันนี้ได้รับมาจาก คุณ Peter Cauwelier มาแบ่งปันประสบการณ์ที่ PIM เมื่อเดือนสิงหาคม 2559 และผมก็มีโอกาสได้ฟัง แล้วก็ต้องบอกเลยว่าถึงกับหลงไหลเลยครับ ถึงจะไม่ใช่เต็มรูปแบบของ Action Learning แต่สิ่งที่ได้รับมาก็มีคุณค่าในตัวของมันเองเลยนำมาเล่าต่อครับ

Action Learning คือหลักการเรียนรู้โดยการตั้งคำถาม หาทางออก หาทางพัฒนา หาทางแก้ไขปัญหา หาแนวทางการทำงาน หาแนวทางการเรียนรู้

การเรียนรู้มีทฤษฎีอยู่อย่างหนึ่งคือ 70 - 20 - 10 หมายถึงความรู้ที่มาจากการเรียนการสอนนั้นมีแค่ 10% อีก 20% ของการเรียนรู้มาจากการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากผู้อื่น และสุดท้าย 70% มาจากการลงมือทำงานจริงซึ่ง Action Learning จะเป็นส่วนของการเรียนรู้ในการทำงานจริงหรือก็คือ 70% ของการเรียนรู้ ที่คุณจะได้อ่านในเนื้อหานี้จะมีส่วนของการเรียนรู้ 10% เท่านั้นถ้าเอาเรื่องที่อ่านนี้ไปพูดคุยก็คือการเรียนรู้อีก 20% และสุดท้ายถ้านำการเรียนรู้แบบ Action Learning ไปใช้ในการทำงานก็คือการเรียนรู้ในส่วนที่มากที่สุดคือ 70% นั้นเอง

ใครต้องใช้ Action Learning คนที่ต้องใช้งานจริงก็คือคนที่ยังหายใจอยู่ หมายถึงทุกคนนะละครับ เพราะการเรียนรู้เกิดขึ้นตลอดเวลา ดังนั้นสิ่งที่เราต้องคำนึงถึงมีอยู่อย่างคือ "ความรู้" และ "การเรียนรู้" ดูผ่านสองคำนี้ดูจะเหมือนกัน แต่ ความรู้กับการเรียนรู้ต่างกันมากครับ ความรู้คือสิ่งที่คุณรู้อยู่แล้วเช่น รู้ว่าโลกกลม รู้ว่าหุงข้าวยังไง รู้ว่าเอกสารต้องเก็บที่ไหน ฯลฯ แต่การเรียนรู้คือ คุณสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตัวคุณเอง ตระหนักรู้ด้วยตัวคุณเอง เหมือน วิลสมิท จากภาพยนต์เรื่อง The Pursit of Happyness ตอนสัมภาษณ์งาน วิลสมิทโดนถามคำถามที่เขาไม่รู้คำตอบ เขาก็ตอบออกมาตรงๆว่าเขาไม่รู้คำตอบแต่รู้วิธีได้มาซึ่งคำตอบ ถ้าตอนนี้ถามว่าคุณอยากได้คนร่วมงานแบบไหนระหว่าง คนที่รู้คำตอบในตอนนี้ กับคนที่รู้วิธีได้มาซึ่งคำตอบในอนาคต มันเหมือนกับถามว่าคุณอยากทำงานกับคนที่ รู้วิธีทำงานหรืออยากทำงานกับคนที่อยากทำงาน

รู้วิธีทำงานเป็นความรู้ แต่อยากทำงานคือ มีแรงผลักดันจากภายในถึงวันนี้จะไม่รู้คำตอบแต่อยากที่จะแสวงหาคำตอบเรียกได้ว่า พัฒนาตนเองอยู่เสมอนั้นเอง

Action Learning คือการแสวงหาคำตอบผ่านการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง โดยการตั้งคำถาม

พลังของคำถาม ทุกคำถามมีพลังและพลังย่อมแตกต่างกันไปตามแต่ละคำถาม โดยปกติคนเราเมื่อตั้งคำถามส่วนใหญ่จะเป็นคำถามปลายปิดที่ให้พลังงานน้อยมาก เช่น ทานข้าวหรือยัง (ทานแล้ว/ยังไม่ทาน) ไปเที่ยวด้วยกันไหม (ไป/ไม่ไป) เหมือนจะเป็นคำถามที่ไม่ต้องใช้พลังงานในการตอบเลยใช่ไหมละครับ ขยับพลังงานขึ้นไปหน่อยเช่น ถามว่า อยากไปเที่ยวที่ไหน ต้องเริ่มใช้พลังงานในการคิดขึ้นมาหน่อยแล้วเห็นไหมครับ ระดับของคำถามที่อาจารย์ Peter เสนอมามีตัวอย่างดังนี้ครับ

           
จากรูปที่ท่านเห็นนั้น ลองสังเกตุดูครับ คำถามที่พลังน้อยที่สุดนั้นมักเป็นคำถามที่เราไม่ต้องใช้ทักษะในการคิดมากนั้น ส่วนคำถามที่ใช้พลังงานสูงๆนั้นมักเป็นคำถามที่จะต้องใช้พลังงานในการคิดเยอะมาก ดังนั้นการเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากการตั้งคำถามที่ทำให้เราคิดเยอะๆ

Albert Einstein กล่าวว่า "ถ้าฉันมีเวลาหนึ่งชั่วโมงสำหรับการแก้ไขปัญหา และชีวิตของฉันขึ้นอยู่กับทางออกของปัญหานั้น ฉันจะใช้เวลา 55 นาทีแรกเพื่อหาคำถามที่เหมาะสมที่จะถาม และเมื่อมีคำถามที่เหมาะสมแล้ว ฉันจะสามารถแก้ไขปัญหาได้น้อยกว่าห้านาที"

ดังนั้นเมื่อเราจะใช้กระบวนการ Action Learning เราต้องฝึกตั้งคำถามครับ โดยคำถามต้องเป็นคำถามปลายเปิดและมีพลังมากเพียงพอให้คนตอบเกิดกระบวนการคิดด้วย

กิจกรรมตั้งคำถาม
ลองฝึกตั้งคำถาม โดยการถามคนข้างๆเรา หรือใครก็ได้ครับ วิธีการคือ ถามคำถามนำแล้วถามต่อโดยมีความเกี่ยวข้องกับคำตอบที่ได้รับต่อไปอีก 7 คำถามไม่ร่วมคำถามตั้งต้น ตัวอย่างคำถาม
- ปีที่ผ่านมา อะไรคือสิ่งที่คุณภาคภูมิใจมากที่สุด
กติกา ผู้ถามต้องถามต่อไปอีก 7 คำถาม โดยคำถามต้องอ้างอิงและเชื่อมต่อกับคำตอบล่าสุดจากผู้ตอบและเป็นคำถามปลายเปิดเท่านั้น ถ้ามีคำถามปลายปิดให้กลับไปเริ่มต้นถามใหม่ ถ้าคำถามไม่ได้อ้างอิงหรือเชื่อมต่อกับคำตอบล่าสุดให้เริ่มใหม่ครับ

การฝึกนี้ต้องใช้เวลาและจำนวนครั้งมากๆ เพราะเรามักติดกับคำถามปลายปิดและเวลาในการสนทนาที่น้อยมากในโลกปัจจุบัน แต่ลองเปิดใจดูและหาเวลาตั้งคำถามกับคนที่อยู่รอบข้างเพื่อฝึกกระบวนการ Action Learning รับรองครับว่าคุ้มค่าการเสียเวลาเป็นอย่างยิ่ง

ทักษะการฟัง
อีกสิ่งที่สำคัญมากๆของการเรียนรู้คือ ทักษะการฟังครั้บเพราะเมื่อเราต้องคำถามแล้วนั้น ก็แน่นอนว่าเราก็ต้องฟังคำตอบด้วยและปัญหาจะเกิดตรงนี้ละครับ เพราะคนส่วนใหญ่่มักไม่ฟังคำตอบ คนส่วนใหญ่ชอบพูดพูดในสิ่งที่ตนเองคิดมักไม่ยอมรับฟังความเห็นของผู้อื่น ดังนั้นกระบวนการเรียนรู้ก็จะไม่เกิดครับ เพราะต่างคนต่างพูดความคิดเห็นของตนเอง ไม่ฟังผู้อื่น ดังนั้นทักษะการฟังจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญโดยมีกระบวนการฟังดังนี้ครับ

1. ใช้หูฟัง ต้องแน่ในว่าหูเรากำลังฟังคนที่ตอบเราจริงๆ
2. ใช้ตามองเพื่อให้ผู้ที่ตอบคำถามเราสามารถรับรู้ได้ว่ากำลังฟังอยู่ เราควรสบตากับผู้ที่เรากำลังฟังเพื่อแสดงให้เห็นถึงความใส่ใจในการฟังนั้นเอง
3. จดจ่อกับเรื่องที่กำลังฟังอย่าใจลอยออกไปข้างนอกเพราะจะไม่รู้เรื่องที่กำลังฟังอยู่ได้นั้นเอง
4. ใช้ใจรับรู้ความรู้สึกของเรื่องที่เรากำลังรับฟัง ประมาณอินไปกับเรื่องแต่อย่าหลงไปกับเรื่องที่ฟัง
5. ใช้สมองคิดตามเรื่องที่เราฟังเพราะถ้าคนตั้งคำถามไม่คิดแล้วจะเกิดกระบวนการเรียนรู้ได้อย่างไรละครับ ใช่ไหมละครับ

ก็มี 5 อย่างหลักจากนั้นก็อยู่ที่การฝึกฝนให้เกิดความชำนาญเท่านั้นละครับ

องค์ประกอบของ Action Learning
องค์ประกอบของ Action Learning ในที่นี้ผมนำมาจาก PPT ของอาจารย์ Peter เพื่อสร้างให้เกิดความเข้าใจมากขึ้นว่าจะนำแนวทาง Action Learning ไปใช้งานอย่างไรต่อ องค์ประกอบของ Action Learning ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบดังนี้

1. Problem or Challenge (ปัญหาหรือความท้าทาย)
การพิจารณาปัญหาที่จะใช้กระบวนการ Action Learning เข้ามาแก้ไขปัญหาและสร้างกระบวนการเรียนรู้ จะต้องมีลักษณะดังนี้ คือ 1. เป็นปัญหาจริงๆและมีความสำคัญกับองค์กรหรือตัวบุคคล 2. ยิ่งปัญหานั้นมีความซับซ้อมมากเท่าไรยิ่งมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้และมีคุณค่าอย่างมากในการหาคำตอบ 3. ปัญหาที่ว่าต้องสามารถแก้ไขได้และอยู่ภายใต้อำนาจและความรับผิดชอบ เช่น พนักงานขายสินค้าจะแก้ไขปัญหารถติดในกรุงเทพ คงเป้นไปไม่ได้และไม่มีอำนาจรับผิดชอบ แต่ถ้าพนักงานขายแก้ไขปัญหาการใช้สินค้าไม่ถูกวิธีของลูกค้าน่าจะมีความสอดคล้องมากกว่าและสามารถเกิดกระบวนการเรียนรู้ได้

2. Group (ทีม)
ในกระบวนการ Action Learning เพื่อแก้ไขปัญหาและการเรียนรู้ กลุ่มคนที่มาร่วมกันเพื่อสร้างสรรค์ได้อย่างเต็มที่จะอยู่ประมาณ 4 - 8 คน และต้องเป็นคนที่มาจากหลากหลายกลุ่มเพื่อมุมมองที่หลากหลายต่างก็สามารถสร้างประโยชน์ให้แก่กันละกัน จะคุ้ยเคยหรือไม่คุ้นเคยกันก็ไม่เป็นเป็นหา เพราะเรามาร่วมกันเพื่อช่วยกันสร้างคำถามที่ทรงพลังในการเรียนรู้นั้นเอง

3.  Questioning and Reflecting (การตั้งคำถามและการสะท้อนความคิด)
ทีมที่มารวมกันต้องมาช่วยกันตั้งคำถามที่แตกประเด็นจากมุมมองที่หลากหลายได้ คว่ามสำคัญของการตั้งคำถามคือการที่ทีมมีคำถามเดียวกันเหมือนกันและช่วยกันหาคำตอบ เสมือนการมีเ้าหมายเดียวกันและมีความชัดเจนเข้าใจร่วมกันได้ และการช่วยกันต้องสร้างคำถามที่ทำให้คนคิด เป็นคำถามปลายเปิดและทำให้คิด เช่น มากเท่าไร ?, ใคร ?, ที่ไหน ?, เรามีทางเลือกอะไรบ้าง ?, ใครช่วยที ?, คุณคิดถึงเรื่องนี้อย่างไร ?, เรื่องนี้สำคัญอย่างไร ?, อะไรจะเกิดขึ้นถ้า ? ก็เป็นตัวอย่างนิดหน่อยของการตั้งคำถาม เพื่อให้เกิดคำถามที่ทรงพลังจริงๆ เราก็ต้องฝึกฝนครับ

4. Action (ลงมือทำ)
เมื่อเราตั้งคำถามแล้วได้คำตอบก็ต้องลงมือทำ การลงมือทำต้องแบ่งกันให้ชัดเจน ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ไม่เช่นนั้นอาจเกิดความสับสนว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ได้ เมื่อลงมือทำแล้วให้ทีมกลับมาคุยกันเพื่อดูปัญหาและแนวทางแก้ไข ทุกครั้งที่กลับมาคุยกันก็ต้องเริ่มด้วยการตั้งคำถามด้วยทุกครั้ง

Reg Revans กล่าวว่า "ไม่มีการเรียนรู้ที่ไม่มีการปฏิบัติ และไม่มีการปฏิบัติ ที่ไม่มีการเรียนรู้"
ถ้าคุณเรียนขับรถในห้องเรียนแต่ไม่ฝึกขับก็คงขับไม่เป็น และในการทำงานทุกวันเราเคยถามตนเองหรือไม่ว่าในแต่ละวันเราได้เรียนรู้อะไรบ้าง

5. Learning (การเรียนรู้)
ทีมที่เข้ามาทำงานร่วมกัน พนักงานขององค์กร ต้องมีความรับผิดชอบในการเรียนรู้ของตนเอง ของทีม เพราะถ้าแต่ละคนไม่คิดที่จะเรียนรู้ ก็ไม่เกิดการพัฒนาดังนั้น ทุกคนต้องรับผิดชอบเพื่อเรียนรู้ให้เกิดการพัฒนา จากนั้นเราต้องมีการกำหนดเวลาที่จะพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนรู้ และวิธีการใช้สิ่งที่เราได้เรียนรู้มา เช่น กรณีตัวอย่าง ฝ่ายพัฒนาบุคลากร The Mall Group จะมีวงเล่าเช้าวันศุกร์ เพื่อให้สมาชิกทีมแต่ละคนแชร์องค์ความรู้ใหม่ๆที่ได้เรียนรู้มา

6. Coach (โค้ช)
คนนอกหรือคนในก็ได้ แต่ต้องมีทักษะในการโค้ช โดยโค้ชไม่ใช่ผู้แก้ปัญหาแต่เป็นผู้ตั้งคำถามให้กับทีม ทีมจะเป็นคนแก้ไขปัญหา โดยโค้ชต้องเป็นผู้รักษากฎของ Action Learning โดยมีกฎอยู่ 2 ข้อ

1. พูดเพื่อตอบคำถาม ไม่ใช่นึกอยากพูดก็พูดแต่พูดเฉพาะเมื่อมีคนถามคำถามกับเราเท่านั้น ไม่ใช่ว่ามีคนถามคนที่อยู่ข้างๆเรา แล้วอยู่ๆเราอยากตอบหรืออยากแชร์ประสบการณ์ก็แชร์ออกมาดื้นๆ ซะอย่างนั้น ดังนั้นหากยังไม่มีใครถามเราอย่าเพิ่งตอบหรือพูด และ ทุกคนสามารถถามคำถามได้ ก็เปลี่ยนจากการพูดเรื่องของตนเองไปเป็นการตั้งคำถามแทน ตั้งคำถามกับคนในทีมเพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้นั้นเอง

2. โค้ชมีอำนาจที่จะเข้าไปแทรกแซงเมื่อมีโอกาสสร้างการเรียนรู้ของทีม เพราะบางทีทีมอาจจะหลุดประเด็นหรือหลงทิศทาง โค้ชสามารถแทรกแซงเพื่อให้ทีมกลับมาเดินทางไปทิศทางเดียวกัน เพื่อให้ทีมได้เรียนรู้จากกระบวนการ Action Learning ให้มากที่สุดเท่านั้นเอง

ก่อนจากกันครับ อาจารย์ Peter ฝากไว้ว่า A question not asked is a door not opened "คำถามที่ไม่ได้ถูกถาม คือ ประตูที่ไม่ได้ถูกเปิด"

สุดท้ายนี้หากท่านได้ประโยชน์จากข้อมูลที่ได้แชร์และฝึกฝนนำไปใช้งานแล้วก็ขอให้บอกต่อกับวิธีการกับทีมงานของท่านเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาให้เกิดขึ้นกับคนที่ท่านรัก

บทความนี้ ผมเขียนขึ้นมาเพื่อเป็นการทบทวนความรู้และแบ่งปันเพื่อต่อยอดความรู้มิได้แสวงหากำไรจากความรู้ของผู้อื่นแต่อย่างใด หากท่านอ่านแล้วมีข้อผิดพลาดหรือข้อเท็จจริงที่ไม่ถูกต้องท่านสามารถให้คำแนะนำโดยการตั้งคำถามเพื่อพัฒนาให้ถูกต้อง เกิดเ็นการเรียนรู้ทั้งผู้อ่านและผู้เขียนนั้นเองครับ


สิทธินันท์ มลิทอง
21 ตุลาคม 2559

วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2559

Story Telling

STORY TELLING




วันศุกร์แห่งความสดใสและร่าเริ่งของพี่น้อง ชาว HRD

7 ตุลาคม 2559 เช้านี้ที่ ACADEMY

คุณผุสดี พันธุมพันธ์ เจ้านายแสนดี มาแบ่งปันการเล่าเรื่อง ที่เรียกว่า Story Telling เรียกได้ว่าเป็นการติดปีกให้กับพยัคฆ์ยังไงยังนั้นเลยทีเดียว ผมก็ฟังแล้วรู้สึกชอบเลยขอนำเรื่องที่ได้จากการแชร์ในครั้งนี้มาแบ่งปันเป็นตัวหนังสือ เพื่อเป็นการทบทวนของตนเองและเป็นแหล่งอ้างอิงให้กับเพื่อนๆ ร่วมโลกได้ลองนำเทคนิค Story Telling ไปใช้เพื่อพัฒนาตนเองอีกทีครับ ถ้าพร้อมแล้วก็ขอเชิญทุกท่านร่องไปกับ Story Telling ครับ

Story Telling คือ Story + Telling หมายถึง เรื่อง บวก กับการเล่า ก็คือเรื่องเล่า แล้วยังไงต่อใช่ไหมครับ ใจเย็นครับ ขอชี้ภาพให้เห็นถึงความสำคัญกันนิดหนึ่ง ด้วยคำถามนี้ครับ คุณคิดว่าสัตว์อื่นๆที่ไม่ใช่มนุษย์มีการสื่อสารกันหรือไม่ คำตอบคือมี โลมาใช้คลื่นโซนาในการพูดคุยติดต่อสื่อสาร มดอาจใช้หนวด ลิงอาจใช้เสียง คำถามต่อมาคุณคิดว่าสัตว์เหล่านั้นเล่าเรื่องกันไหมครับ คำตอบคือไม่ สัตว์ที่สามารถเล่าเรื่องได้มีแค่มนุษย์เท่านั้น "ไม่ใช่มนุษย์เท่านั้นที่มีภาษา แต่มนุษย์เท่านั้นที่เล่าเรื่องได้"  นี้ละครับมนุษย์ถึงได้เปรียบเพราะเราสามารถเล่าเรื่องได้ งั้นเรามาต่ออีกหนึ่งคำถามครับ การเล่าเรื่องที่ดีและน่าจดจำมีหลักการอย่างไร

ก่อนจะตอบคำถามนี้ผมขออนุญาติพาคุณไปรู้จักกับสมองก่อนนะครับ โดยทั่วไปการเล่าเรื่องปกติสมองของเราจะทำงานเพียงแค่ 2 ส่วนเท่านั้นคือ ส่วนวิเคราะห์ทางภาษาและการวิเคราะห์ด้านความเข้าใจ แต่ไม่ได้กระตุ้นสมองในส่วนของอารมณ์และการจดจำ ทำให้สุดท้ายคนฟังจะไม่ได้ใส่ใจหรือลืมเรื่องที่เล่าออกไป

ส่วนการเล่าแบบ Story Telling นั้นจะส่งผลที่แตกต่าง เพราะกระตุ่นสมองหลายส่วน เช่น ส่วนการประมวลผลภาพ เสียง กลิ่น การเคลื่อนไหว ความคิด นอกจากนี้สมองยังทำการจดจำ และสร้างอารมณ์เข้าไปร่วมในเวลาการเล่าเรื่อง ทำให้เรามีความรู้สึกร่วมในเรื่องดังกล่าวและสร้างความทรงจำต่อเรื่องเล่าได้ง่ายกว่ามาก  และเมื่อเราได้ฟัง Story Telling สมองของเราจะหลั่งสาร Oxytocin ซึ่งเป็นสารแห่งความรักและความเห็นอกเห็นใจ ทำให้เราเกิดความผูกพันธ์ทั้งต่อเรื่องที่ได้ฟังและผู้ที่เล่าเรื่องนี้ด้วย

หลักการของ Story Telling มาจาก Aristotle ประกอบด้วย 4 หลักการด้วยกันคือ
1. ระทม (Suffering)
2. รันทด (Struggling)
3. ระทึก (Turning)
4. รอดจากทุกข์ (Overcoming)

ส่วนความหมายก็ตรงๆตัวเลยครับ เช่น เรื่องโดราเอม่อน สังเกตเห็นไหมครับ เรื่องจะเริ่มจากโนบิตะมีเรื่องระทมโดนเพื่อนแกล้ง สอบตก หรืออื่นๆ จากนั้นพยายามยังไงก็ไม่สามารถผ่านไปได้ด้วยตนเอง มันช่างรันทดยิ่งนัก แต่เมื่อโดราเอมอนมาช่วยเหลือทำให้เกิดเรื่องระทึก ตื่นเต้น สุดท้ายโนบิตะก็มีความสุขรอดจากทุกข์นั้นๆ ไป และเรื่องโดราเอมอนก็เป็นเรื่องที่อยู่ในความทรงจำของผู้คนจากหลักการทั้ง 4 นี้เอง ลองดูจากหนังภาพยนต์ก็ได้ครับ แทบทุกเรื่องที่โด่งดังเรื่องต้องเริ่มจาก ระทม ก่อน แล้วมันแฝงไว้ด้วยความรันทด จากนั้นมีความระทึกโผล่ขึ้นมา แล้วจบด้วยรอดจากทุกข์เสมอไป

หลักการของ Story Telling มันก็มีแค่นี้ละครับ แต่ปัญหาคือ "ทุกเรื่องเล่าบอกบางอย่างเกี่ยวกับความเป็นคุณ แต่ ผู้ฟังอยากรู้ว่าคุณน่าสนใจอย่างไร ก่อนจะฟังว่าคุณพูดอะไร" อันนี้ละที่จะต้องมีของเก็บไว้ในกระเป๋าให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ นั้นก็คือเรื่องของตัวคุณนั้นเอง ไอ้คำว่าเรื่องของตัวคุณนั้นเองก็คือคุณต้องมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตัวคุณเองเก็บไว้เพื่อให้ผู้คนได้รู้จักกับตัวตนของคุณ เรื่องนี้ไม่ควรยาวเกิน 3 -5 นาที มากกว่านี้ไม่ดีน่าเบื่อ ฟังแล้วหลับ เดี่ยวกับมาต่อว่ามีวิธีการคิดอย่างไรในการสร้าง Story Telling ของตนเอง

Story Telling เอาไปใช้ทำอะไร นั้นสิเอาไปทำอะไรดีหน่า เบื้องต้น Story Telling เอาไปใช้ได้ดังนี้
1. Connection Story สร้างความสัมพันธ์ เพิ่มความน่าเชื่อถือ แนะนำตัวให้น่าสนใจ (ต้องมีเรื่องของตนเองเก็ยใส่กระเป๋าไว้ )
2. Influence Story เอาชนะความเชื่อฝังหัว แก้ปัญหามุมมองที่ไม่ถูกต้อง กระตุ้นให้เปิดใจ ชวนมองมุมใหม่ เช่น คนสมัยก่อนชอบตีเด็ก เพราะเชื่อมาจะทำให้เด็กไม่กระทำผิดอีก การจะยกเลิกการตีเด็กนั้นให้กับผู้ใหญ่สมัยก่อน เราก็ต้องใช้ Story Telling ไม่ว่าจะเป็นการยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเด็กที่ถูกตี หรือผลลัพธ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ และที่สำคัญคือ ต้อง Story Telling อยู่สม่ำเสมอ เพื่อให้ผู้ฟังสามารถหลุดจากความเชื่อฝังหัว(ผู้เขียนเองไม่เชื่อว่าการทำโทษด้วยวิธีการตีจะทำให้คนเป็นคนดีได้)
3. Clarity Story เพิ่มความกระจ่าง สร้างความเข้าใจ ตอบคำถามที่ท้าทาย ในการตอบคำถามถ้าเราตอบแบบธรรมดามันก็ไม่น่าจดจำ แต่ถ้าเราเป็นนัก Story Telling แล้ว นั้นการตอบด้วยเรื่องเล่า จะทำให้คำตอบนั้นน่าสนใจและก็ความเข้าใจที่ชัดเจน ฉะนั้นการหาเรื่องเล่าติดตัวไว้จึงเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็น
4. Success Story ยกตัวอย่าง ใช้แทนกรณีศึกษา จูงใจให้คล้อยตาม คือการใช้ Story Telling ในการสร้างแรงจูงใจให้ผู้คนคล้อยตามได้โดยง่าย

คำถามต่อมาคือ Story Telling สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานได้อย่างไร เพราะถ้าไม่สามารถนำไปใช้ได้เราจะมั่วมานั่งศึกษาและฝึกฝนไปเพื่ออะไร ดังนั้นเรามีคำตอบให้ว่า เราจะเอา Story Telling ไปใช้ในการทำงานได้อย่างไร
1. เรื่องเล่า ช่วยสร้างการจดจำ ถ้าเราต้องการสื่อสารแน่นอนว่าเราจะอยากให้ผู้ที่เราสื่อสารด้วยสามารถจดจำเนื้อความที่เราต้องการสื่อสารออกไป ดังนั้น Story Telling ที่ผ่านการฝึกฝนจะสามารถช่วยให้ผู้ฟังสามารถจดจำเรื่องที่เราสื่อสารได้เป็นอย่างดี
2. เรื่องเล่า ช่วยกระตุ้นการลงมือทำ อยากให้คนทำงานก็ต้องสื่ิอสารให้เห็นความสำคัญของการทำงาน Story Telling ช่วยคุณได้ เพราะเรื่องที่แฝงไปด้วยรายละเอียดและอารมณ์จะช่วยให้ผู้คนเห็นความสำคัญของเรื่องที่คุณจะให้คนเหล่านั้นทำ และเค้าเหล่านั้นจะลงมือทำ
3. เรื่องเล่า ช่วยสร้างแรงบันดาลใจ มีพี่ชายคนหนึ่งเล่าเรื่องที่ไปแข่งขันวิ่งมาราธอนให้ผมฟังตั้งแต่การเริ่มฝึกซ้อมที่ยาวนานในแต่ละวัน การสมัครแข่งขันที่ยากลำบากเพราะในการแข่งขันรายการใหญ่ๆมีผู้สนใจจำนวนมหาศาลแต่สามารถรับสมัครได้เพียงจำนวนจำกัด และวันที่แข่งขันการวิ่งมาราธอน ความรู้สึกของพี่ชายคนนี้ถูกถ่ายทอดออกมาได้อย่างเล้าอารมณ์ เพราะมันคือเรื่องจริงและมีอารมณ์ คุณลองจินตนาการคุณวิ่งอยู่กลางแสงแดดเวลาเก้าโมงเช้าคุณเริ่มวิ่งตั้งแต่ตีสี่ คุณวิ่งมาแล้วห้าชั่วโมง คุณวิ่งมาเป็นระยะทางกว่า สามสิบกิโลเมตรเสื้อผ้าคุณมีแต่กลิ่นเหงื่อเหม็นเค็มอย่างบอกไม่ถูก คุณวิ่งต่อไปทีละก้าวทีละนาที ทีละนาที ทีละนาที ผ่านไปอีกหนึ่งชั่วโมง ป้ายบอกระยะเหลืออีกสองกิโลคุณจะเข้าเส้นชัย ร่างกายของคุณบอกว่าไม่ไหวแล้วคุณเหมือนอยู่ในนรกทั้งเป็น ข้อต่อปวดร้าวทุกครั้งที่ก้าว หลังของคุณได้แต่นึกถึงเบาะที่นอนนิ่มๆ คุณก้าวต่อไป ไม่เห็นใครบนเส้นทางวิ่งมีแต่แสงแดดและเงาที่อยู่เป็นเพื่อนคุณ คุณก้าวต่อไป ต่อไป ก้าวสุดท้ายที่คุณก้าวเข้าเส้นชัยคุณไม่รู้ด้วยซ้ำว่ากี่โมงแล้ว คุณไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีใครมามุงดูคุณบ้าง คุณไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีใครอุ้มคุณจากเส้นชัยไปที่เต้นพยาบาล แต่ที่ห้อยอยู่ที่คอคุณคือเหรียญรางวัล คุณผ่านมาแล้ว สี่สิบสองจุดหนึ่งเก้าห้ากิโลเมตร น้ำตาคุณไหลคุณทำได้ คุณทำในสิ่งที่คุณไม่คิดว่าคนอย่างคุณจะทำได้ คุณทำได้ คุณใช้พลังใจพาร่างกายคุณเข้าเส้นชัย คุณภูมิใจ เพราะไม่ใช่ทุกคนจะทำได้ ไม่ใช่เรื่องบัญเอิงแต่คุณทำได้ เท่านั้นละครับ ผมก็เริ่มซ้อมและลงวิ่งมาราธอน นี้คือ Story Telling ที่สร้างแรงบันดาลใจได้เป็นอย่างดี
4.  เรื่องเล่า ช่วยสร้างความเข้าใจ เพราะหน้าตารูปร่างไม่อาจบอกได้ว่าใครผ่านอะไรมาบ้าง แต่ Story Telling ทำให้เรารู้จักกันมากขึ้น เคยมีผลการวิจัย คนที่รู้จักกันมักจะมีแนวโน้มเห็นอกเห็นใจ เข้าใจซึ่งกันและกันมากกว่าคนที่ไม่รู้จักมักคุ้นกัน การใช้ Story Telling สั้นๆ ช่วยให้ผู้คนรู้จักกัน ทำงานร่วมกัน ช่วยเหลือกัน และประสบความสำเร็จทั้งการทำงานและชีวิตส่วนตัวไปด้วยกัน

แค่สี่ประโยชน์นี้ก็ทำให้การทำงานของคุณกับทีมของคุณทรงประสิทธิภาพมากขึ้น จากการ ใช้ Story Telling ในการสื่อสารระหว่างทีมงานนั้นเอง

เค้าว่ากันว่า 65% ของเวลา ที่คนส่วนใหญ่คุยกันอย่างไม่เป็นทางการ คุยกันเรื่อง ใคร ทำอะไร กับใคร
เอาง่ายๆ นะครับ นินทานั้นละ คนส่วนมากชอบนินทา และไม่รู้ตัวว่าชอบนินทา เรื่องนินทาไม่ใช่ Story Telling มันไม่เคยสร้างแรงบันดาลใจ และไม่เคยสร้างสรรค์ประโยชน์แก่ใคร ฉะนั้นถ้าคุณจะ Story Telling คุณก็ควรเลิกนินทา แต่ถ้าคุณอยากเล่าเรื่องของคุณอื่นคุณต้องขออนุญาติจากเจ้าของเรื่องที่คุณจะเล่า นั้นจะไม่ใช้การนินทาแต่เป็นการยกตัวอย่างจากเรื่องราวของผู้คนที่อนุญาติให้คุณนำไปแบ่งปันได้ อย่าลืมขออนุญาติก่อนนำมาเล่า

วงจร Story Telling หน้าตาเป็นอย่างไร เริ่มจาก

Story Listening (หาเรื่อง) - Insights การหาเรื่องไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเรา เรื่องที่ผู้อื่นแช่มาอีกที เรื่องของผู้อื่น หรือเราหาจากผู้ที่ประสบความสำเร็จจากทั่วโลก นำมาเก็บไว้เป็นคลังสำหรับเราเรื่อง

Story Triggering (สร้างเรื่อง) - Inspiration การนำเรื่องที่คุณหามา มาร้อยเรียงเข้ากับสิ่งที่คุณจะสื่อสารออกไป (The end in mind) เพื่อเน้นประเด็นที่คุณต้องการ เรื่องเดียวกันคุณอาจจะขยี้ต่างกันเพื่อสื่อสารต่างกัน

Story Telling (เล่าเรื่อง) -Influence การเล่าเรื่องนั้นเอง การเล่าเรื่องนี้คุณต้องฝึกฝน อารมณ์ น้ำเสียง ท่าทาง การหยุด การให้จังหวะ ทุกอย่างต้องเริ่มจาก The end in mind ว่าคุณมีวัตถุประสงค์อะไร แล้วคุณมีการสร้างเรื่องอย่างไร จะใส่เทคนิคไหนประกอบเพื่อให้เกิด Story Telling ที่ทรงประสิทธิภาพ

เอาละครับเล่าเรื่องมาซะนาน แล้ว Story Telling คืออะไรกันแน่ Story Telling คือ เรื่องจริง ห่อด้วย รายละเอียด และเล่าให้ได้ อารมณ์

นั้นละครับปรากฎการณ์ที่สอง ระทม รันทด ระทึก รอดจากทุกข์ และต้องเป็นเรื่องจริง ที่มีรายละเอียดในจุดที่เราต้องการเน้น (ขยี้) และใส่อารมณ์ให้สุดๆ เพื่อให้สมองทำงานหลายๆส่วน จนเกิดการจดจำ

ทดสอบ Story Telling

คราวนี้เรามาลองสร้างเรื่องราวของเราเองให้เป็น Story Telling กันครับ ลองแต่งเรื่องของตัวคุณเองโดยมีองค์ประกอบของ Story Telling และเรื่องนี้ต้องบอกด้วยว่า คุณเป็นใคร มาจากไหน ผ่านอะไรมาบ้าง จุดผลิกผันอยู่ที่ไหน มาอยู่ตรงนี้ได้อย่างไร ทำไมควรฟังคุณ (เล่าเรื่องราวให้ฟังว่าอะไรทำให้คุณเป็นคนแบบนี้ ทำสิ่งนี้หรือสนใจเรื่องนี้ (ทำไมควรสนใจ) )(แสดงให้ผู้ฟังเห็นว่า เรามีบางอย่างที่เหมือนกัน (เหมือนกันตรงไหน) ) ลองหาคนใกล้ๆตัวดูนะครับ แต่งเรื่อง ซ้อมเล่า และเล่าให้คุณใกล้ตัวคุณฟังดู พร้อมขอความคิดเห็นว่าเรื่องที่คุณเล่าส่งผลอย่างไร กับผู้ฟัง (ห้ามเกิน 4 นาที)

A Good Business Story
อีกตัวช่วยที่ทำให้ Story Telling น่าสนใจมากขึ้นคือ TIPS + Point

T เวลาในท้องเรื่อง
I เรื่องราวที่เกิดขึ้น
P คนที่อยู่ในเรื่อง
S หักมุมตอนจบ

+

Point จุดที่คุณจะสื่อสาร (ต้องขยี้(ใส่รายละเอียด))


ลองฟังความคิดเห็นจากคนที่คุณเล่า แล้วลองหาเรื่องใหม่ แล้วใส่ TIPS + Point ให้เข้มแข็งและฝึกฝนคุณจะเห็นความแตกต่างเมื่อคุณฝึกฝน

*** เทคนิคเพิ่มเติม
- เล่าช้าๆ
- พรรณาชัดๆ (ไม่ต้องรีบเพราะคุณซ้อมมาแล้ว)
- ไม่ต้องดราม่า (เล่าให้เล้าอารมณ์ แต่ไม่ต้องดราม่าใส่ผู้ฟัง(เราไม่ต้องการให้ใครมาเห็นใจ แต่เราต้องการสร้างแรงบันดาลใจ))
- เว้นจังหว่ะให้พัก
- มีหักมุมในตอนจบ

เรื่องควรระวัง
ระวังเล่าเรื่องเสร็จแล้วมีคนถามคุณว่า "แล้วไง" ฉะนั้นเพื่อไม่ให้เกิดคำถามนี้สิ่งที่เราควรทำคือ ทบทวน The end in mind วัตถุประสงค์ที่คุณเล่าคืออะไร แล้วคุณจะส่งต่ออย่างไร(ใช้เทคนิค Story Telling)

สุดท้าย คถา ของความสำเร็จ (TIPS FOR LEARNING A STORY)

1. หา - ปรับ > เล่า > เก็บ
 - หาไปเรื่อยเจอเรื่องนาสนใจก็จดเก็บไว้ ใส่โทรศัพท์ เศษกระดาษ จากนั้นลองพิจารณาเอามาปรับ เอาไปลองเล่า และเก็บไว้ใช้ครั้งต่อๆไป

2. อย่างจดเป็นเรื่องเก็บเฉพาะ TIPS
 - การจดเพื่อจำไม่ต้องจดมาทั้งหมด จดมาแค่ เวลาในท้องเรื่อง เรื่องราว ผู้ที่เกี่ยวข้อง และ สิ่งที่หักมุม แล้วคุณค่อยนำมา ร้อยเรียงในแบบของคุณตามสิ่งที่คุณต้องการจะสื่อออกไป

3. Point ของเรื่องอยู่ตรงไหน
 - อย่าลืมประเด็นของคุณคืออะไร อย่างหลุดออกนอนกประเด็น

4. ฝึกฝน ฝึกฝน ฝึกฝน
 - สุดท้ายไม่ต้องบอกก็รู้ฝึกฝนฝึกฝน ให้เกิดเป็นความชำนาญ ลองฝึกเล่าเรื่องให้คนใกล้ชิดคุณฟังวันละหนึ่งเรื่องครบร้อยเรื่องเมื่อไร คุณคือ ผู้เชียวชาญ Story Telling แล้วมันจะเปลี่ยนชีวิตคุณไปตลอดกาล


ครับจบ ทั้งหมดที่ท่านได้อ่านนี้เกิดจากการฟังจากคุณดีแล้วใส่ความเข้าใจของผู้เขียนถ้าข้อมูลผิดพลาดขออภัยมา ณ ที่นี้ สุดท้ายผมเห็นว่าเรื่องน่าจะเป็นประโยชน์ เลยอยากแบ่งปันไม่ได้หวังผลตอบแทนแต่อย่างใด แค่ให้เรื่องที่แบ่งปันเกิดประโยชน์แก่ผู้อ่าน ก็มีคุณค่าในตัวเรื่องมันเองอยู่แล้ว

สิทธินันท์ มลิทอง

วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2559

DIALOGUE IN THE DARK



สิ่งที่ได้เรียนรู้จาก
DIALOGUE IN THE DARK @ CHAMCHURI SQUARE 25th JUNE 2016

บทเรียนจากความมืด

          บทเรียนจากความมืด คือ นิทรรศการที่ให้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้การดำเนินชีวิตของผู้พิการทางสายตา ผ่านห้องเรียนที่เป็นสถานที่ต่าง ๆ ที่อยู่ในชีวิตประจำวันของเรา เช่น สวนสาธารณะ ห้องนั่งเล่น ข้างถนน ตลาดขายของ รถสาธารณะ การข้ามถนน และร้านขายขนมเครื่องดื่ม ทำให้เราได้เรียนรู้ ทั้งความรู้สึก การดำรงชีวิตของผู้พิการทางสายตา ด้วยประสาทสัมผัสของตัวเราเอง
          ทั้งนี้สิ่งที่ได้เรียนรู้ในฐานะ นักพัฒนาบุคลากรนั้น ขอนำเสนอมุมมองของภาวะผู้นำ เพราะภาวะผู้นำมีความสำคัญกับการพัฒนาองค์กรเป็นอย่างมาก ทุกองค์กรมีผู้นำอย่างแน่นอน แต่ปัญหาขององค์กรส่วนใหญ่ผู้นำมักขาดภาวะผู้นำ แต่หากองค์กรใดพนักงานทุกคนไม่ใช่เฉพาะผู้นำที่เป็นหัวหน้าเท่านั้นมีภาวะผู้นำสูง องค์กรนั้นมักจะมีประสิทธิภาพสูงในการประกอบการเช่นเดียวกัน
          การเข้าชมนิทรรศการแห่งความมืด มีผู้นำเข้าชมนิทรรศการเป็นผู้พิการทางสายตา นำเราเข้าไปสู่บทเรียนต่างๆ ที่อยู่ในความมืดสนิทชนิดที่ไม่มีใครมองเห็นอย่างแน่นอน บทเรียนที่ได้จากพี่ผู้นำทางเรานั้นคือการแสดงออกถึงภาวะผู้นำได้เป็นอย่างดี โดยเริ่มจาก

ผู้นำตามคุณลักษณะ
         
          คุณลักษณะของผู้นำมีหลากหลายมาก ไม่ว่าจะเป็น ความคิดสร้างสรรค์ การคิดอย่างเป็นระบบ ความชำนาญในงานที่ทำ ความแข็งแกร่งของร่างกาย ความฉลาดทางอารมณ์ ในอดีตเรารียนรู้คุณลักษณะของผู้นำจากความเก่งกล้าสามารถในการต่อสู้ ปกป้อง รักษา เมื่อเข้าสู่สังคมอุตสาหกรรมผู้นำคือผู้ที่มี ความรู้ในงานที่ทำเรียกว่ารู้ลึก คงามสามารถในการตัดสินใจ การบริหาร
          ผู้นำทางเข้าชมนิทรรศการนั้น เรียกได้ว่ามีคุณลักษณะของผู้นำอย่างชัดเจน ทั้งความสามารถในการจดจำสถานที่ ความสามารถในการจำชื่อและลักษณะของผู้เข้าชมนิทรรศการไม่ว่าจะเป็น เพศ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าชม(เพื่อน แฟน พี่น้อง) จำได้แม้กระทั้งว่าคนไหนมีปฎิกิริยาอย่างไรในแต่ละบทเรียน และสามาราถเชื่อมโยงผู้เข้าชมกับบทเรียนได้อย่างลงตัว มีทักษะการใช้เสียงที่เหมาะสมทำให้ผู้เข้าชมเกิดความรู้สึกสบายใจในการเข้าชมได้อย่างน่าประทับใจเลยทีเดียว
          คุณลักษณะของผู้นำนั้นไม่ได้หมายความว่าจะมีมาแต่กำเนิดแต่สามารถฝึกฝนให้เกิดเป็นความชำนาญได้ ผู้นำทางของเราไม่ได้พิการทางสายตามาแต่กำเนิดแต่เกิดจากอุบัติเหตุ และสามารถฝึกฝนทักษะการใช้ชีวิตในสังคมได้ เหมือยคนปกติแม้จะต้องใช้เวลานานกว่า 3 ปี ทั้งต้องปรับความรู้สึก ปรับการใช้ชีวิต แต่ผู้นำชมนิทรรศการของเราก็แสดงให้เห็นแล้วว่า คุณลักษณะของผู้นำนั้นสามารถฝึกฝนให้เกิดความชำนาญได้และเป็นแรงบรรดาลใจให้กับผู้อื่นได้อีกด้วย

ผู้นำเชิงพฤติกรรม

          พฤติกรรมการบริหาร การสั่งการ การนำ นั้นเราสามารถแบ่งแบบหยาบๆ ได้ สองพฤติกรรมคือ ผู้นำเชิงประชาธิปไตย หมายถึงการให้ความสำคัญกับคนมากกว่างาน และผู้นำเชิงเผด็จการที่ให้ความสำคัญกับงานมากกว่าคน ทั้งสองพฤติกรรมนั้นยังไม่มีข้อสรุปว่าพฤติกรรมแบบไหนจะให้ประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากการกัน
          ผู้นำชมนิทรรศการของเราได้แสดงถึงผู้นำทั้งสองพฤติกรรมได้อย่างน่าอัศจรรย์ ในบทเรียนสวนสาธารณะจะมีรูปปั้นให้ผู้เข้าชมได้ลองสัมผัสดูว่า เป็นรูปปั้นของอะไรในบทเรียนนี้จะมีอยู่สองรูปปั้น ผู้นำของเราจะเป็นคนกำหนดว่าใครจะได้ลองจับรูปปั้นไหน นั้นคือการเริ่มกำหนดพฤติกรรมเชิงเผด็จการ เพื่อให้สามารถควบคุมเวลาในการเข้าชมนิทรรศการได้อย่างเหมาะสม จากนั้นในบทเรียนรถสาธารณะนั้นผู้นำก็จะเป็นคนกำหนดที่นั่งให้กับผู้เข้าชมก็เป็นตัวอย่างของพฤติกรรมเชิงเผด็จการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงในการเข้าชมนิทรรศการเช่นเดียวกัน
          ในบทเรียนตลาดนัดผู้นำชมนิทรรศการของเราจะให้เปิดโอกาสให้กับผู้เข้าชมสามารถเลือกสัมผัสกับสินค้าได้ด้วยตนเองเพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้จากของจริง เพื่อได้ทดสอบประสาทสัมผัสทั้งการจับ การดม ความรู้สึกของผิวสัมผัส รวมถึงบทเรียนจากร้านขายขนมเครื่องดื่ม ผู้ข้าชมนิทรรศการสามารถเลือกได้ว่าจะบทานขนมอะไร ดื่มเครื่องดื่มอะไร ในจุดนี้แสดงถึงผู้นำเชิงประชาธิปไตย ที่เปิดโอกาสให้ผู้ตามสามารถเลือกได้ด้วยตนเอง เปิดประสบการเรียนรู้ได้ ทำให้ผู้เข้าชมนิทรรศการเกิดความอยากเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งการที่สามารถทำให้ผู้เข้าชมนิทรรศการเกิดความรู้สึกอยากเรียนรู้ด้วยตนเองก็เป็นผลดี ในการพัฒนาตนเองเพราะเมื่อไรที่ คนหรือพนักงานมีความอยากรู้ อยากพัฒนา ด้วยตนเอง องค์กรจะมีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน
          บทสรุปของผู้นำทั้งสองพฤติกรรมไม่มีแน่ชัดว่าแบบไหนจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพมากกว่ากัน ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ บุคคล และความเหมาะสม เพื่อให้เราสามารถเรียนรู้ภาวะผู้นำได้มากขึ้นจึงได้เกิดทฤษฎีผู้นำตามสถานการณ์ขึ้น

ผู้นำตามสถานการณ์

          ผู้นำตามสถานการณ์คือผู้ที่ดำเนินการบริหาร สั่งการ ดำเนินงานโดยคำนึงถึงตัวผู้ตามว่ามีคุณลักษณะแบบไหน โดยแบ่งง่ายๆ ได้สองลักษณะคือ ความมีทักษะหรือไม่มีทักษะ และ มีความอยากทำงานหรือไม่อยากทำงาน จากสองลักษณะสามารถแบ่งผู้ตามได้เป็น 4 ลักษณะย่อย คือ ผู้ตามที่มีความอยากทำงานแต่ขาดทักษะ ผู้ตามที่มีทักษะแต่ขาดความอยากในการทำงาน ผู้ตามที่ขาดความอยากและขาดทักษะ สุดท้ายคือผู้ตามที่มีความอยากเรียนรู้และมีทักษะในการทำงาน เมื่อผู้นำสามารถแบ่งผู้ตามได้ 4 ลักษณะย่อยแล้ว จึงเลือกการนำที่เหมาะสมตามคุณลักษณะทั้ง 4 คือ การชี้นำ การแนะนำ การสนับสนุน การส่งมอบอำนาจ นี้ก็คือการนำทั้ง 4 ลักษณะ
          ผู้นำชมนิทรรศการของเรานั้น จะเริ่มด้วยการแนะนำ คือผู้เข้าชมมีความอยากรู้ อยากเรียนรู้ แต่ยังขาดทักษะในการเข้าชมนิทรรศการที่ไร้ซึ่งแสงสว่าง ผู้นำของเราจะแนะนำว่าต้องใช้ไม้เท้าแบบไหนในการไหดหจับและการกวาดไม้เท้าเพื่อไม่ให้ชนเพื่อนที่เข้าชมด้วยกัน ควรหลับตาระหว่างการเข้าชมเพื่อไม่ให้เราลืมตาและเพ่งสายตาในความมืดเพราะจะทำให้ปวดตา จากสิ่งที่ผู้นำชมนิทรรศการทำคือการนำแบบชี้นำ ให้jกดดกดำดข้อมูลในการเข้าชมก็เสมือนกับการให้ความรู้กับพนักงานใหม่
          เมื่อเข้าสู่สภาวะที่สองคือมีทักษะ แต่ความอยากรู้เริ่มลดน้อยลง ผู้นำของเราจะเปลี่ยนการนำไปเป็นแบบการแนะนำคือ เริ่มไม่บังคับไม่ยัดเยียดความรู้แต่จะเริ่มปล่อยให้ผู้ตามได้เรียนรู้ด้วยต้นเอง เช่นเวลาเดินผ่านแต่ละบทเรียนผู้นำจะทำหน้าที่แค่ถามว่าเจออะไรบ้าง สัมผัสอะไรบ้างในบทเรียนข้างถนนนั้น ผู้เข้าชมจะได้สัมผัสกับประตูบ้าน รั้วบ้าน ผู้นำจะเริ่มถามว่าคิดว่ามีอะไรบ้างในบทเรียนนี้และควรทำอย่างไร เช่นเจอสุนัขควรทำอย่างไร
          สภาวะที่สามคือ ผู้ตามมีความอยากรู้น้อยลง ทักษะเริ่มถดถอย ผู้นำจะนำแบบสนับสนุนเพื่อให้ผู้ตามเกิดไฟแห่งการเรียนรู้ ไฟแห่งการอยากทำงานขึ้นมาให้อีกครั้ง เช่นตอนขึ้นรถสาธารณะ ผู้นำสร้างความตื่นเต้นได้เป็นอย่างมาก ทั้งการแนะนำสถานที่ที่รถสาธารณะวิ่งผ่านมีการใส่ความตื่นเต้นลงไปในบทเรียน ทำให้ผู้เข้าชมนิทรรศการเกิดความตื่นเต้น และความอยากรู้อยากเห็นก็กลับมาอีกครั้งหนึ่ง
          และสภาวะสุดท้าย คือ ผู้ตามมีความอยากรู้และมีทักษะที่เหมาะสม ผู้นำทำหน้าที่ในการส่งมอบอำนาจ ในบทเรียนสุดท้ายผู้เข้าชมนิทรรศการจะได้ถามตอบกับผู้นำชมนิทรรศการเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม เราได้แลกเปลี่ยนความรู้ ความรู้สึก และทัศนคติแก่กัน ทำให้ผู้ตามแค่ปล่อยให้ผู้เข้าชมได้เรียนรู้ด้วยตนเองเสมือนผู้นำที่มอบอำนาจให้แก่ผู้ตามในการปฏิบัติงานได้ด้วยตนเองนั้นเอง
          ดังนั้นในสถานะของผู้นำ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเริ่มจากเรียนรู้ในตัวผู้ตามว่ามีความอยากเรียนรู้และทักษะในการทำงานมากน้อยขนาดไหน แล้วผู้นำจะต้องปรับการนำให้เหมาะสมกับผู้ตามแต่ละคน ผู้นำมีหน้าที่สนับสนุนผู้ตามให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นเอง

บทสรุป

          การเรียนรู้จากบทเรียนแห่งความมืดสามารถให้บทเรียนได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ความช่วยเหลือให้กับผู้พิการ การรับรู้ความรู้สึกของผู้พิการในสังคม เพื่อให้ผู้เข้าชมนิทรรศการนั้นสามารถใช้ชีวิตร่วมกับผู้พิการในสังคมได้ โดยไม่คิดว่าผู้พิการเป็นผู้ด้อยโอกาสและจ้องเอารัดเอาเปรียบ เพื่อให้สังคมน่าอยู่ขึ้นและทุกคนอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข เข้าใจเขาเข้าใจเราเช้าใจกัน
          และในฐานะนักพัฒนาบุคลากรสมารถเรียนรู้ บทเรียนแห่งความมืดได้ในหลากหลายมุมมอง ภาวะผู้นำเป็นแค่ตัวอย่างเพียงเล็กน้อยที่เราสามารถเรียนรู้ได้ แต่ยังมีเรื่องอื่นอีกมาก เช่น การโค๊ช ระบบพี้เลี้ยง การพัฒนาการทำงาน การสร้างความไว้วางใจ การสร้างแรงจูงใจ และอื่นๆอีกมากมาย ถือว่าโชคดีมากที่ได้เข้าชมนิทรรศการในครั้งนี้ครับ


สิทธินันท์ มลิทอง


วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2559

Be Proactive






อยากรู้จัก Proactive ทำไงดี ? 

หลักการเบื้องต้น

ในเบื้องต้นให้มองคนเป็นต้นไม้มีส่วนที่เป็นลำต้นขึ้นมาเหนือดิน และส่วนที่อยู่ใต้ดินที่เป็นราก ในส่วนที่เป็นลำต้นเราจะเรียกว่า Personality (บุคลิกภาพ) ส่วนที่อยู่ใต้ดินที่เป็นรากเราจะเรียกว่า Character (คุณลักษณะ) แล้วมันต่างกันอย่างไร ?

Personality (บุคลิกภาพ) คือ สิ่งที่เราแสดงออกและมีคนเห็น เช่น ขยันทำงานและมีคนเห็น บางที่ก็มีคนแกล้งทำเป็นขยันต่อหน้าคนอื่นพอไม่มีใครเห็นก็ขี้เกียจเหมือนเดิม (แปลแบบง่ายเข้าใจได้ไม่ยาก)
Character (คุณลักษณะ) คือ สิ่งที่เราทำโดยที่มีคนเห็นและไม่มีคนเห็น รวมถึงสิ่งที่เราคิดและรู้สึกด้วย ประมาณว่าขยันโดยไม่ต้องมีใครมานั่งดูเรา ขยันด้วยตนเองจากภายในไงครับ

คำถามคือ เราอยากเป็นคนแบบไหน ตอบตัวเองนะครับ

Cultivating Character (การเพาะปลูก คุณลักษณะ) หมายถึงการที่เราสามารถเลือกที่จะมีพฤติกรรมหรือความคิดแบบใดก็ตามเราสามารถเป็นได้ ทำได้ โดยตัวเราเป็นคนเลือกสิ่งที่เราต้องการ โดนเริ่มแรกเราต้องมีเป้าหมายก่อนว่าอย่ากมีคุณลักษณะแบบไหน แล้วต้องใส่ความตั้งใจลงไปด้วย และฝึกฝนฝึกฝน จึงจะสำเร็จสมดังหมาย

Paradigm คือ กรอบความคิดของเราเอง ที่ใช้ในการมองโลก เสมือนแผนที่ในการใช้ชีวิต ถ้ากรอบผิดแผนที่ผิดการเดินทางของชีวิตก็อาจจะผิดพลาดได้ ไปไม่ถึงเป้าหมายนั้นเอง
Paradigm Shift กรอบความคิดสามารถเปลี่ยนได้ เช่น เราอาจเคยเชื่อว่าการทำงานที่ดีต้องเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรลงบนกระดาษ แต่ปัจจุบันการทำงานเราสามารถใช้เครื่องมือสื่อสารที่ทันสมัยเช่น Line Facebook เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการได้ กรอบความคิดเราก็เปลี่ยนไปนั้นเอง

ตัวแบบที่ใช้ในหลักการเบื้องต้นคือ See - Do - Get คุณมองโลกแบบไหน คุณจะมีพฤติกรรมแบบนั้น และคุณจะได้รับผลของการมองและพฤติกรรมของคุณเอง การเปลี่ยนพฤติกรรมทำให้ผลลัพธ์เปลี่ยนได้แต่ไม่มากเท่าการเปลี่ยนการมองโลก ถ้าเราสามารถเปลี่ยนมุมมองในการมองโลกได้ พฤติกรรมเราก็สามารถเปลี่ยนได้และผลลัพธ์ที่ได้จะเปลี่ยนแปลงไปมากมายมหาศาลกว่าแค่การเปลี่ยนพฤติกรรมนั้นเอง

คำถามในการเปลี่ยนมุมมองคือ What is it for me ,What is it for them คือถามว่าเปลี่ยนแปลงได้อะไรถ้าผลของการเปลี่ยนมีผลกระทบสูงๆ เราจะเปลี่ยนได้ง่ายขึ้น และยิ่งถ้าเป็นเรื่องที่ดูเศร้าๆหรือดราม่าสูงจะมีโอกาสทำให้มนุษย์เปลี่ยนแปลงได้เร็วขึ้นนั้นเอง

Principle หลักการ คือสิ่งที่กำหนด ทุกสิ่งอย่างเราต้องใช้ชีวิตภายใต้หลักการ ถ้าเราขัดแย้งกับหลักการเราจะไม่มีทางประสบผลสำเร็จและมีความสุขได้ แล้วหลักการคืออะไร หลักการมีคุณลักษณะ คือ เป็นสากล ไร้กาลเวลา และเป็นความจริง เช่น ถ้าเราปล่อยหินจากมือ หินจะตกลงพื้น ไม่ว่าใครจะเป็นคนปล่อยหรือปล่อยที่ไหน ตอนไหน นั้นคือหลักการ เพียงแต่ว่าใครจะค้นพบหลักการก่อนแค่นั้นเอง บางเรื่องเราอาจยังไม่ค้นพบ แต่บางเรื่องเราจะค้นพบแล้ว เพราะฉะนั้นรีบหาหลักการให้พบและใช้ชีวิตไปตามหลักการ เราก็จะประสบความสำเร็จได้อย่างมีความสุขนั้นเอง

หลักของ Be Proactive

คือ "ฉันมีอิสรภาพในการเลือกและรับผิดชอบ" แค่นี้ละครับสั้นๆแต่คนส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงสภาวะ Proactive ได้เพราะคิดว่าตนเองไม่มีสิทธิในการเลือก หรือคิดว่าที่ตัวเองต้องทำเช่นนี้เป็นเพราะคนอื่น เพราะสังคม เพราะสภาพแวดล้อม แต่ Proactive ตคือเราทำสิ่งต่างๆได้ด้วย อิสรภาพอย่างเต็มที่ 

อิสรภาพกับเสรีภาพ แตกต่างกันคือ เสรีภาพของเราอาจถูกจำกัดภายใต้กฎหมาย ระเบียบบริษัท ข้อตกลงในครอบครัว การบังคับทางกาย หรืออื่นๆ แต่อิสรภาพ คือการเลือกตอบสนองของเรา ต่อสถานการณ์ต่างๆ ที่เราสามารถเลือกได้ไม่มีใครมาลดทอนอิสรภาพของเราได้นอกจากตัวเราเอง เช่น เราถูกกลั่นแกล้งแต่เราก็สามารถเลือกได้ว่าเราจะแกล้งตอบหรือหยุดที่จะทำสิ่งที่ไม่ดีนั้นได้ ด้วยตัวเราเอง ง่ายๆ แต่ไม่ค่อยมีใครเข้าใจ

การเลือกหมายถึงเรามีทางเลือกเสมอ ทุกครั้ง ทุกเหตุการณ์ ถึงจะดูเหมือนมืดมิดเจ็ดด้านแต่เราก็จะต้องมองให้เห็นด้านสว่างเพียงหนึ่งด้าน ด้วยความพยายามอย่างไม่ย่อท้อ เพราะเรามีทางเลือก

รับผิดชอบ คือเราต้องรู้ว่าการเลือกเราคือการเลือกของเรา และเราต้องรับผิดชอบต่อการเลือกทุกครั้ง ทางที่ดีควรจะรู้ถึงผลลัพธ์ คิดถึงผลลัพธ์ ของการเลือกแต่ละครั้งเพื่อที่จะได้ทราบถึงความรับผิดชอบที่จะตามมาทุกครั้งไป

REACTIVE
เมื่อเราพูดถึง Proactive เป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะไม่พูดถึง Reactive เพราะสองคำนี้เป็นคำตรงข้ามกัน Reactive คือ การตอบสนองต่อสิ่งเร้าด้วยอารมณ์ ความรู้สึก และ สถานการณ์

Stimulus (สิ่งเร้า) - Response (การตอบสนอง)

หมายถึงเมื่อมีสิ่งเร้าเข้ามาแล้วเราตอบสนองต่อด้วย อารมณ์ ความรู้สึก และสถานการณ์ ตัวอย่างเช่น เมื่อมีคนโมโหเราแล้วเราโมโหตอบกลับด้วยอารมณ์ โดยไร้ซึ้งการใช้สสติ ปัญญา และรับรู้ถึงความรับผิดชอบในการตอบสนองนั้นๆ ของเราเอง

ข้อความที่เกี่ยวข้อง

"ชีวิตของคุณเป็นผลมาจากการตัดสินใจของคุณเอง มิใช่จากเงื่อนไขรอบๆตัว"

"เสรีภาพมีจำกัด แต่อิสรภาพมีไม่จำกัด จะจำกัดต่อเมื่อเราจำกัดมัน"

"มันไม่ใช่การกระทำของผู้อื่นที่ทำร้ายเรา แต่เป็นการตอบสนองที่เราเลือกต่อการกระทำ ของเราต่างหากที่ทำร้ายเราเอง"

หัวใจของ Proactive


Stimulus (สิ่งเร้า)    

FREEDOM TO CHOOSE  (อิสรภาพในการเลือก)
-  
Response (การตอบสนอง)

หัวใจของ Proactive  คือ Freedom to choose (อิสรภาพในการเลือก) คือ เมื่อมีการตอบสนองเข้ามาเราสามารถเลือกการตอบสนองของเราได้ ไม่ใช่ตอบสนองด้วยอารมณ์แต่ตอบสนองด้วย สติ ปัญญา คุณธรรม และความรับผิดชอบ ไม่ใช่แค่ใช้อารมณ์ในการตอบสนอง ต่อสิ่งเร้านั้นๆ

FREEDOM TO CHOOSE ประกอบด้าย สติ จินตนาการ จิตสำนึก อิสระในการทำงาน

สติ คือ การรู้ว่าขณะเวลานั้นๆ เรามีความรู้สึกอย่างไร อารมณ์แบบไหน เคยมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า มีพระที่บวชในสมัยพุทธกาลถามพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับความตาย พระพุทธเจ้าตอบคำถามโดยการตั้งคำถามว่า ท่านนึกถึงความตายวันละกี่ครั้ง พระรูปนั้นตอบว่า วันละสามครั้ง แล้วพระรูปนั้นก็ถามพระพุทธเจ้ากลับว่าแล้วท่านละนึกถึงความตายวันละกี่ครั้ง พระพุทธเจ้าตอบว่า เราคิดถึงความตายทุกลมหายใจ จากเรื่องนี้สอนเราว่า การมีสติคือการรู้คิดอยู่ตลอดเวลาทุกลมหายใจนั้นเอง แล้วทำได้ยากหรือไม่นั้น ไม่ง่ายแต่สามารถฝึกฝนได้ครับ และต้องเริ่มฝึกตั้งแต่วันนี้นั้นเอง

จินตนาการ คือ การใช้ปัญญาในการคิดหาทางตอบสนอง โดยมีการคิดวิเคราะห์ต่อสถานการณ์ ใช้ความคิดไม่ใช่ อารมณ์ ย้ำอีกนะครับ ใช้ปัญญาในการหาทางออกต่อสถานการณ์ไม่ใช่อารมณ์ การมีปัญญานั้นก็ต้องมีการฝึกฝนเช่นกัน โดยการอ่านหนังสือ ฝึกฝน เรียนรู้ ไม่ว่าจะผ่านบุคคลรอบข้างสถานการณ์ ประสบการณ์ เพื่อให้มีคามแหลมคม พร้อมต่อการแก้ปัญหาในทุกสถานการณ์

จิตสำนึก คือ การตรองด้วยหัวใจ ใช้ปัญญาหาทางออกและตรองด้วยใจ คือการรู้ผิดชอบชั่วดี มีคุณธรรม มีจริยธรรม อย่าลืมนึกถึงเรื่องกรอบความคิดในเรื่องของหลักการ คือ หากหลักการผิด แผนที่ในใจผิด จิตสำนึกอาจจะผิดไปด้วย เช่น ที่เกิดขึ้นกับโลกมนุษย์ มีมนุษย์ที่สร้างห้องรมแก๊สเพื่อฆ่าคนในสงครามโลก และมีมนุษย์เดินเข้าไปในห้องรมแก๊ส หลายล้านคน เห็นแล้วใช่ไหมครับว่า ถ้าหลักการผิด แผนที่ผิด จิตสำนึกก็อาจจะผิดไปด้วย เป็นโดมิโนเป็นต่อเนื่องกัน เหมือนรากฐานที่แข็งแรงย่อมสร้างตึกที่แข็งแรงนั้นเอง

อิสระในการทำ คือ การลงมือทำ แต่ทุกครั้งที่มีการลงมือทำเราต้องรับผิดชอบต่อการตอบสนองของเราด้วย และการจะรับผิดชอบได้นั้นเราต้องรู้ถึงผลกระทบต่อการตัดสินใจตอบสนองว่ามีความรับผิดชอบอะไรเกิดขึ้นบ้าง นั้นหมายถึงเราต้องรับรู้ถึงความรับผิดชอบก่อนการตอบสนอง ไม่ใช่แค่ตอบสนองแล้วค่อรับรู้ถึงความรับผิดชอบ

ทั้ง 4 นี้คือหัวใจของ Proactive นั้นเอง เพราะมันคือช่องว่างระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง มันคืออิสรภาพในการตอบสนองของเรา นั้นคือ ทุกคนมีทางเลือกครับ

อยากเป็นคน Proactive ทำไงดี ?

เครื่องมือที่ 1 สู่การเป็นคน Proactive
CIRCLE OF INFLUENCE

มีวงกลมสองวงซ้อนกันอยู่ วงใหญ่เรียกว่าวงกลมที่เราควบคุมไม่ได้ เช่น ปัญหานิวเคลีย สภาพอากาศ ความคิดของผู้อื่น การเมือง ฯลฯ และมีวงในที่ซ้อนอยู่คือ วงกลมแห่งการควบคุมหรือวงกลมแห่งอิทธิพล คือสิ่งที่เราควบคุมได้คือ ความคิดของเรา การกระทำของเรา การตอบสนองของเรา นั้นคือสิ่งที่เราควบคุมได้และการเป็นคน Proactive จะขายวงกลมแห่งการควบคุมให้ใหญ่ขึ้นได้นั้นเอง

โดยวิธีที่เราทำได้เพื่อขยายวงกลมแห่งการควบคุมได้ เราต้องรู้จักกับ 6C

หยุด Reactive
Complain (บ่น) หยุดบ่นทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตาม
Criticize (วิพากวิจารณ์) โดยเฉพาะการวิจารณ์โดยไม่สร้างสรรค์ต้องหยุดลงในทันที่
Compete (แข่งขัน) การแข่งขันกับผู้อื่นอย่างไม่สร้างสรรค์ แข่งขันแบบเอาเป็นเอาตาย แทนที่จะแข่งกับตนเองแข่งกับจิตใจตนเอง
Compare (เปรียบเทียบ) การเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่นก็ต้องหยุดเช่นกัน เพราะคนแต่ละคนแตกต่างกันไม่สามารถนำไปเปรียบเทียบกันได้

ถ้าเราสามารถหยุดทั้ง 4 C ได้ ระยะห่างระหว่างวงกลมที่ควบคุมไม่ได้กับวงกลมแห่งการควบคุมจะหดสั้นลงเพราะจะไม่กังวลต่อสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้

เพิ่ม Proactive
Compliment (ส่วนเติมเต็ม) เมื่อเจอกับเหตุการณ์หรือสถานการณ์ใดๆก็ตามนั้น เราสามารถเลือกได้ว่าเราจะลงมือทำอะไร ถามตัวเองครับว่า "เราทำอะไรได้บ้าง"
Cooperate (ร่วมมือกัน) คือสิ่งที่เราทำได้เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ทางเลือกใหม่ที่ดีกว่า บรูณาการกว่า ทำให้วงกลมที่ควบคุมได้ขยายออกไป

ง่ายๆ เลยครับกับเครื่องมือแรก ลด 4 C และเพิ่ม 2 C จะทำให้เราสามารถเป็นคน Proactive มากขึ้น

เครื่องมือที่ 2 สู่การเป็นคน Proactive
TRANSITION PERSON

Negative Patterns รูปแบบด้านลบ (ในอดีต)  

Transition Person ผู้นำการเปลี่ยนแปลง

Position Patterns รูปแบบด้านบวก (อนาคต)
                                            
                                                                                                    

อยากเป็นคน Proactive วิธีที่ 2 คือการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงหมายถึง ในอดีตอะไรบ้างที่เราเห็นว่าไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม ไม่ควร ไม่ดี เราจะเก็บไว้ในอดีต แต่เราจะไม่นำมันกลับมาเพื่อนำไปสู่ในอนาคต อธิบายง่ายๆคือ "อะไรที่เราเห็นว่าไม่ดี เราก็อย่าทำ" แค่นั้นละครับค่อยๆ ฝึกฝนไปเรื่อยๆ และพฤติกรรมของเราจะ Proactive ประกอบกับวงกลมแห่งอิทธิพลของเราก็จะขยายใหญ่ขึ้นด้วย

Proactive อย่างรวดเร็ว น่าจะช่วยคลายข้อสงสัยได้บ้างนะครับ อย่างลืม มีสติ ใช้ปัญญา มีคุณธรรม รับรู้ถึงผลกระทบของการรับผิดชอบต่อการตอบสนอง หยุดบ่น หยุดวิจารณ์ หยุุดแข่งขันไร้สาระ หยุดเปรียบเทียบ ถามต้วเองว่าอะไรคือสิ่งที่เราทำได้ อะไรคือวสิ่งที่พวกเราทำได้ ในอดีตเห็นว่าอะไรไม่ดีก็หยุดไม่ต้องทำไม่ต้องส่งต่อการกระทำที่ไม่ดีไปสู่ในอนาคตนั้นเองครับ

การเขียนครั้งนี้เพื่อทบทวนเนื้อหาและการเปิดให้ผู้อื่นอ่านเพื่อช่วยกันพัฒนาสู่การเป็นคน Proactive จะทำให้สังคมน่าอยู่ขึ้นง่ายๆ ด้วยตัวเราเอง ไม่ได้หวังสิ่งอื่นใดตอบแทนนอกจากความสุขของทุกท่านครับ

สำหรับท่านที่ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมสามารถติดต่อบริษัท PACRIM THAILAND ได้ครับ

สิทธินันท์ มลิทอง