วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2559
Be Proactive
อยากรู้จัก Proactive ทำไงดี ?
หลักการเบื้องต้น
ในเบื้องต้นให้มองคนเป็นต้นไม้มีส่วนที่เป็นลำต้นขึ้นมาเหนือดิน และส่วนที่อยู่ใต้ดินที่เป็นราก ในส่วนที่เป็นลำต้นเราจะเรียกว่า Personality (บุคลิกภาพ) ส่วนที่อยู่ใต้ดินที่เป็นรากเราจะเรียกว่า Character (คุณลักษณะ) แล้วมันต่างกันอย่างไร ?
Personality (บุคลิกภาพ) คือ สิ่งที่เราแสดงออกและมีคนเห็น เช่น ขยันทำงานและมีคนเห็น บางที่ก็มีคนแกล้งทำเป็นขยันต่อหน้าคนอื่นพอไม่มีใครเห็นก็ขี้เกียจเหมือนเดิม (แปลแบบง่ายเข้าใจได้ไม่ยาก)
Character (คุณลักษณะ) คือ สิ่งที่เราทำโดยที่มีคนเห็นและไม่มีคนเห็น รวมถึงสิ่งที่เราคิดและรู้สึกด้วย ประมาณว่าขยันโดยไม่ต้องมีใครมานั่งดูเรา ขยันด้วยตนเองจากภายในไงครับ
คำถามคือ เราอยากเป็นคนแบบไหน ตอบตัวเองนะครับ
Cultivating Character (การเพาะปลูก คุณลักษณะ) หมายถึงการที่เราสามารถเลือกที่จะมีพฤติกรรมหรือความคิดแบบใดก็ตามเราสามารถเป็นได้ ทำได้ โดยตัวเราเป็นคนเลือกสิ่งที่เราต้องการ โดนเริ่มแรกเราต้องมีเป้าหมายก่อนว่าอย่ากมีคุณลักษณะแบบไหน แล้วต้องใส่ความตั้งใจลงไปด้วย และฝึกฝนฝึกฝน จึงจะสำเร็จสมดังหมาย
Paradigm คือ กรอบความคิดของเราเอง ที่ใช้ในการมองโลก เสมือนแผนที่ในการใช้ชีวิต ถ้ากรอบผิดแผนที่ผิดการเดินทางของชีวิตก็อาจจะผิดพลาดได้ ไปไม่ถึงเป้าหมายนั้นเอง
Paradigm Shift กรอบความคิดสามารถเปลี่ยนได้ เช่น เราอาจเคยเชื่อว่าการทำงานที่ดีต้องเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรลงบนกระดาษ แต่ปัจจุบันการทำงานเราสามารถใช้เครื่องมือสื่อสารที่ทันสมัยเช่น Line Facebook เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการได้ กรอบความคิดเราก็เปลี่ยนไปนั้นเอง
ตัวแบบที่ใช้ในหลักการเบื้องต้นคือ See - Do - Get คุณมองโลกแบบไหน คุณจะมีพฤติกรรมแบบนั้น และคุณจะได้รับผลของการมองและพฤติกรรมของคุณเอง การเปลี่ยนพฤติกรรมทำให้ผลลัพธ์เปลี่ยนได้แต่ไม่มากเท่าการเปลี่ยนการมองโลก ถ้าเราสามารถเปลี่ยนมุมมองในการมองโลกได้ พฤติกรรมเราก็สามารถเปลี่ยนได้และผลลัพธ์ที่ได้จะเปลี่ยนแปลงไปมากมายมหาศาลกว่าแค่การเปลี่ยนพฤติกรรมนั้นเอง
คำถามในการเปลี่ยนมุมมองคือ What is it for me ,What is it for them คือถามว่าเปลี่ยนแปลงได้อะไรถ้าผลของการเปลี่ยนมีผลกระทบสูงๆ เราจะเปลี่ยนได้ง่ายขึ้น และยิ่งถ้าเป็นเรื่องที่ดูเศร้าๆหรือดราม่าสูงจะมีโอกาสทำให้มนุษย์เปลี่ยนแปลงได้เร็วขึ้นนั้นเอง
Principle หลักการ คือสิ่งที่กำหนด ทุกสิ่งอย่างเราต้องใช้ชีวิตภายใต้หลักการ ถ้าเราขัดแย้งกับหลักการเราจะไม่มีทางประสบผลสำเร็จและมีความสุขได้ แล้วหลักการคืออะไร หลักการมีคุณลักษณะ คือ เป็นสากล ไร้กาลเวลา และเป็นความจริง เช่น ถ้าเราปล่อยหินจากมือ หินจะตกลงพื้น ไม่ว่าใครจะเป็นคนปล่อยหรือปล่อยที่ไหน ตอนไหน นั้นคือหลักการ เพียงแต่ว่าใครจะค้นพบหลักการก่อนแค่นั้นเอง บางเรื่องเราอาจยังไม่ค้นพบ แต่บางเรื่องเราจะค้นพบแล้ว เพราะฉะนั้นรีบหาหลักการให้พบและใช้ชีวิตไปตามหลักการ เราก็จะประสบความสำเร็จได้อย่างมีความสุขนั้นเอง
หลักของ Be Proactive
คือ "ฉันมีอิสรภาพในการเลือกและรับผิดชอบ" แค่นี้ละครับสั้นๆแต่คนส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงสภาวะ Proactive ได้เพราะคิดว่าตนเองไม่มีสิทธิในการเลือก หรือคิดว่าที่ตัวเองต้องทำเช่นนี้เป็นเพราะคนอื่น เพราะสังคม เพราะสภาพแวดล้อม แต่ Proactive ตคือเราทำสิ่งต่างๆได้ด้วย อิสรภาพอย่างเต็มที่
อิสรภาพกับเสรีภาพ แตกต่างกันคือ เสรีภาพของเราอาจถูกจำกัดภายใต้กฎหมาย ระเบียบบริษัท ข้อตกลงในครอบครัว การบังคับทางกาย หรืออื่นๆ แต่อิสรภาพ คือการเลือกตอบสนองของเรา ต่อสถานการณ์ต่างๆ ที่เราสามารถเลือกได้ไม่มีใครมาลดทอนอิสรภาพของเราได้นอกจากตัวเราเอง เช่น เราถูกกลั่นแกล้งแต่เราก็สามารถเลือกได้ว่าเราจะแกล้งตอบหรือหยุดที่จะทำสิ่งที่ไม่ดีนั้นได้ ด้วยตัวเราเอง ง่ายๆ แต่ไม่ค่อยมีใครเข้าใจ
การเลือกหมายถึงเรามีทางเลือกเสมอ ทุกครั้ง ทุกเหตุการณ์ ถึงจะดูเหมือนมืดมิดเจ็ดด้านแต่เราก็จะต้องมองให้เห็นด้านสว่างเพียงหนึ่งด้าน ด้วยความพยายามอย่างไม่ย่อท้อ เพราะเรามีทางเลือก
รับผิดชอบ คือเราต้องรู้ว่าการเลือกเราคือการเลือกของเรา และเราต้องรับผิดชอบต่อการเลือกทุกครั้ง ทางที่ดีควรจะรู้ถึงผลลัพธ์ คิดถึงผลลัพธ์ ของการเลือกแต่ละครั้งเพื่อที่จะได้ทราบถึงความรับผิดชอบที่จะตามมาทุกครั้งไป
REACTIVE
เมื่อเราพูดถึง Proactive เป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะไม่พูดถึง Reactive เพราะสองคำนี้เป็นคำตรงข้ามกัน Reactive คือ การตอบสนองต่อสิ่งเร้าด้วยอารมณ์ ความรู้สึก และ สถานการณ์
Stimulus (สิ่งเร้า) - Response (การตอบสนอง)
หมายถึงเมื่อมีสิ่งเร้าเข้ามาแล้วเราตอบสนองต่อด้วย อารมณ์ ความรู้สึก และสถานการณ์ ตัวอย่างเช่น เมื่อมีคนโมโหเราแล้วเราโมโหตอบกลับด้วยอารมณ์ โดยไร้ซึ้งการใช้สสติ ปัญญา และรับรู้ถึงความรับผิดชอบในการตอบสนองนั้นๆ ของเราเอง
ข้อความที่เกี่ยวข้อง
"ชีวิตของคุณเป็นผลมาจากการตัดสินใจของคุณเอง มิใช่จากเงื่อนไขรอบๆตัว"
"เสรีภาพมีจำกัด แต่อิสรภาพมีไม่จำกัด จะจำกัดต่อเมื่อเราจำกัดมัน"
"มันไม่ใช่การกระทำของผู้อื่นที่ทำร้ายเรา แต่เป็นการตอบสนองที่เราเลือกต่อการกระทำ ของเราต่างหากที่ทำร้ายเราเอง"
หัวใจของ Proactive
Stimulus (สิ่งเร้า)
-
FREEDOM TO CHOOSE (อิสรภาพในการเลือก)
-
Response (การตอบสนอง)
หัวใจของ Proactive คือ Freedom to choose (อิสรภาพในการเลือก) คือ เมื่อมีการตอบสนองเข้ามาเราสามารถเลือกการตอบสนองของเราได้ ไม่ใช่ตอบสนองด้วยอารมณ์แต่ตอบสนองด้วย สติ ปัญญา คุณธรรม และความรับผิดชอบ ไม่ใช่แค่ใช้อารมณ์ในการตอบสนอง ต่อสิ่งเร้านั้นๆ
FREEDOM TO CHOOSE ประกอบด้าย สติ จินตนาการ จิตสำนึก อิสระในการทำงาน
สติ คือ การรู้ว่าขณะเวลานั้นๆ เรามีความรู้สึกอย่างไร อารมณ์แบบไหน เคยมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า มีพระที่บวชในสมัยพุทธกาลถามพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับความตาย พระพุทธเจ้าตอบคำถามโดยการตั้งคำถามว่า ท่านนึกถึงความตายวันละกี่ครั้ง พระรูปนั้นตอบว่า วันละสามครั้ง แล้วพระรูปนั้นก็ถามพระพุทธเจ้ากลับว่าแล้วท่านละนึกถึงความตายวันละกี่ครั้ง พระพุทธเจ้าตอบว่า เราคิดถึงความตายทุกลมหายใจ จากเรื่องนี้สอนเราว่า การมีสติคือการรู้คิดอยู่ตลอดเวลาทุกลมหายใจนั้นเอง แล้วทำได้ยากหรือไม่นั้น ไม่ง่ายแต่สามารถฝึกฝนได้ครับ และต้องเริ่มฝึกตั้งแต่วันนี้นั้นเอง
จินตนาการ คือ การใช้ปัญญาในการคิดหาทางตอบสนอง โดยมีการคิดวิเคราะห์ต่อสถานการณ์ ใช้ความคิดไม่ใช่ อารมณ์ ย้ำอีกนะครับ ใช้ปัญญาในการหาทางออกต่อสถานการณ์ไม่ใช่อารมณ์ การมีปัญญานั้นก็ต้องมีการฝึกฝนเช่นกัน โดยการอ่านหนังสือ ฝึกฝน เรียนรู้ ไม่ว่าจะผ่านบุคคลรอบข้างสถานการณ์ ประสบการณ์ เพื่อให้มีคามแหลมคม พร้อมต่อการแก้ปัญหาในทุกสถานการณ์
จิตสำนึก คือ การตรองด้วยหัวใจ ใช้ปัญญาหาทางออกและตรองด้วยใจ คือการรู้ผิดชอบชั่วดี มีคุณธรรม มีจริยธรรม อย่าลืมนึกถึงเรื่องกรอบความคิดในเรื่องของหลักการ คือ หากหลักการผิด แผนที่ในใจผิด จิตสำนึกอาจจะผิดไปด้วย เช่น ที่เกิดขึ้นกับโลกมนุษย์ มีมนุษย์ที่สร้างห้องรมแก๊สเพื่อฆ่าคนในสงครามโลก และมีมนุษย์เดินเข้าไปในห้องรมแก๊ส หลายล้านคน เห็นแล้วใช่ไหมครับว่า ถ้าหลักการผิด แผนที่ผิด จิตสำนึกก็อาจจะผิดไปด้วย เป็นโดมิโนเป็นต่อเนื่องกัน เหมือนรากฐานที่แข็งแรงย่อมสร้างตึกที่แข็งแรงนั้นเอง
อิสระในการทำ คือ การลงมือทำ แต่ทุกครั้งที่มีการลงมือทำเราต้องรับผิดชอบต่อการตอบสนองของเราด้วย และการจะรับผิดชอบได้นั้นเราต้องรู้ถึงผลกระทบต่อการตัดสินใจตอบสนองว่ามีความรับผิดชอบอะไรเกิดขึ้นบ้าง นั้นหมายถึงเราต้องรับรู้ถึงความรับผิดชอบก่อนการตอบสนอง ไม่ใช่แค่ตอบสนองแล้วค่อรับรู้ถึงความรับผิดชอบ
ทั้ง 4 นี้คือหัวใจของ Proactive นั้นเอง เพราะมันคือช่องว่างระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง มันคืออิสรภาพในการตอบสนองของเรา นั้นคือ ทุกคนมีทางเลือกครับ
อยากเป็นคน Proactive ทำไงดี ?
เครื่องมือที่ 1 สู่การเป็นคน Proactive
CIRCLE OF INFLUENCE
มีวงกลมสองวงซ้อนกันอยู่ วงใหญ่เรียกว่าวงกลมที่เราควบคุมไม่ได้ เช่น ปัญหานิวเคลีย สภาพอากาศ ความคิดของผู้อื่น การเมือง ฯลฯ และมีวงในที่ซ้อนอยู่คือ วงกลมแห่งการควบคุมหรือวงกลมแห่งอิทธิพล คือสิ่งที่เราควบคุมได้คือ ความคิดของเรา การกระทำของเรา การตอบสนองของเรา นั้นคือสิ่งที่เราควบคุมได้และการเป็นคน Proactive จะขายวงกลมแห่งการควบคุมให้ใหญ่ขึ้นได้นั้นเอง
โดยวิธีที่เราทำได้เพื่อขยายวงกลมแห่งการควบคุมได้ เราต้องรู้จักกับ 6C
หยุด Reactive
Complain (บ่น) หยุดบ่นทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตาม
Criticize (วิพากวิจารณ์) โดยเฉพาะการวิจารณ์โดยไม่สร้างสรรค์ต้องหยุดลงในทันที่
Compete (แข่งขัน) การแข่งขันกับผู้อื่นอย่างไม่สร้างสรรค์ แข่งขันแบบเอาเป็นเอาตาย แทนที่จะแข่งกับตนเองแข่งกับจิตใจตนเอง
Compare (เปรียบเทียบ) การเอาตัวเองไปเปรียบเทียบกับคนอื่นก็ต้องหยุดเช่นกัน เพราะคนแต่ละคนแตกต่างกันไม่สามารถนำไปเปรียบเทียบกันได้
ถ้าเราสามารถหยุดทั้ง 4 C ได้ ระยะห่างระหว่างวงกลมที่ควบคุมไม่ได้กับวงกลมแห่งการควบคุมจะหดสั้นลงเพราะจะไม่กังวลต่อสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้
เพิ่ม Proactive
Compliment (ส่วนเติมเต็ม) เมื่อเจอกับเหตุการณ์หรือสถานการณ์ใดๆก็ตามนั้น เราสามารถเลือกได้ว่าเราจะลงมือทำอะไร ถามตัวเองครับว่า "เราทำอะไรได้บ้าง"
Cooperate (ร่วมมือกัน) คือสิ่งที่เราทำได้เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ทางเลือกใหม่ที่ดีกว่า บรูณาการกว่า ทำให้วงกลมที่ควบคุมได้ขยายออกไป
ง่ายๆ เลยครับกับเครื่องมือแรก ลด 4 C และเพิ่ม 2 C จะทำให้เราสามารถเป็นคน Proactive มากขึ้น
เครื่องมือที่ 2 สู่การเป็นคน Proactive
TRANSITION PERSON
Negative Patterns รูปแบบด้านลบ (ในอดีต)
Transition Person ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
Position Patterns รูปแบบด้านบวก (อนาคต)
อยากเป็นคน Proactive วิธีที่ 2 คือการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงหมายถึง ในอดีตอะไรบ้างที่เราเห็นว่าไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม ไม่ควร ไม่ดี เราจะเก็บไว้ในอดีต แต่เราจะไม่นำมันกลับมาเพื่อนำไปสู่ในอนาคต อธิบายง่ายๆคือ "อะไรที่เราเห็นว่าไม่ดี เราก็อย่าทำ" แค่นั้นละครับค่อยๆ ฝึกฝนไปเรื่อยๆ และพฤติกรรมของเราจะ Proactive ประกอบกับวงกลมแห่งอิทธิพลของเราก็จะขยายใหญ่ขึ้นด้วย
Proactive อย่างรวดเร็ว น่าจะช่วยคลายข้อสงสัยได้บ้างนะครับ อย่างลืม มีสติ ใช้ปัญญา มีคุณธรรม รับรู้ถึงผลกระทบของการรับผิดชอบต่อการตอบสนอง หยุดบ่น หยุดวิจารณ์ หยุุดแข่งขันไร้สาระ หยุดเปรียบเทียบ ถามต้วเองว่าอะไรคือสิ่งที่เราทำได้ อะไรคือวสิ่งที่พวกเราทำได้ ในอดีตเห็นว่าอะไรไม่ดีก็หยุดไม่ต้องทำไม่ต้องส่งต่อการกระทำที่ไม่ดีไปสู่ในอนาคตนั้นเองครับ
การเขียนครั้งนี้เพื่อทบทวนเนื้อหาและการเปิดให้ผู้อื่นอ่านเพื่อช่วยกันพัฒนาสู่การเป็นคน Proactive จะทำให้สังคมน่าอยู่ขึ้นง่ายๆ ด้วยตัวเราเอง ไม่ได้หวังสิ่งอื่นใดตอบแทนนอกจากความสุขของทุกท่านครับ
สำหรับท่านที่ต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมสามารถติดต่อบริษัท PACRIM THAILAND ได้ครับ
สิทธินันท์ มลิทอง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ยอดเยียม
ตอบลบ