วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2559

Story Telling

STORY TELLING




วันศุกร์แห่งความสดใสและร่าเริ่งของพี่น้อง ชาว HRD

7 ตุลาคม 2559 เช้านี้ที่ ACADEMY

คุณผุสดี พันธุมพันธ์ เจ้านายแสนดี มาแบ่งปันการเล่าเรื่อง ที่เรียกว่า Story Telling เรียกได้ว่าเป็นการติดปีกให้กับพยัคฆ์ยังไงยังนั้นเลยทีเดียว ผมก็ฟังแล้วรู้สึกชอบเลยขอนำเรื่องที่ได้จากการแชร์ในครั้งนี้มาแบ่งปันเป็นตัวหนังสือ เพื่อเป็นการทบทวนของตนเองและเป็นแหล่งอ้างอิงให้กับเพื่อนๆ ร่วมโลกได้ลองนำเทคนิค Story Telling ไปใช้เพื่อพัฒนาตนเองอีกทีครับ ถ้าพร้อมแล้วก็ขอเชิญทุกท่านร่องไปกับ Story Telling ครับ

Story Telling คือ Story + Telling หมายถึง เรื่อง บวก กับการเล่า ก็คือเรื่องเล่า แล้วยังไงต่อใช่ไหมครับ ใจเย็นครับ ขอชี้ภาพให้เห็นถึงความสำคัญกันนิดหนึ่ง ด้วยคำถามนี้ครับ คุณคิดว่าสัตว์อื่นๆที่ไม่ใช่มนุษย์มีการสื่อสารกันหรือไม่ คำตอบคือมี โลมาใช้คลื่นโซนาในการพูดคุยติดต่อสื่อสาร มดอาจใช้หนวด ลิงอาจใช้เสียง คำถามต่อมาคุณคิดว่าสัตว์เหล่านั้นเล่าเรื่องกันไหมครับ คำตอบคือไม่ สัตว์ที่สามารถเล่าเรื่องได้มีแค่มนุษย์เท่านั้น "ไม่ใช่มนุษย์เท่านั้นที่มีภาษา แต่มนุษย์เท่านั้นที่เล่าเรื่องได้"  นี้ละครับมนุษย์ถึงได้เปรียบเพราะเราสามารถเล่าเรื่องได้ งั้นเรามาต่ออีกหนึ่งคำถามครับ การเล่าเรื่องที่ดีและน่าจดจำมีหลักการอย่างไร

ก่อนจะตอบคำถามนี้ผมขออนุญาติพาคุณไปรู้จักกับสมองก่อนนะครับ โดยทั่วไปการเล่าเรื่องปกติสมองของเราจะทำงานเพียงแค่ 2 ส่วนเท่านั้นคือ ส่วนวิเคราะห์ทางภาษาและการวิเคราะห์ด้านความเข้าใจ แต่ไม่ได้กระตุ้นสมองในส่วนของอารมณ์และการจดจำ ทำให้สุดท้ายคนฟังจะไม่ได้ใส่ใจหรือลืมเรื่องที่เล่าออกไป

ส่วนการเล่าแบบ Story Telling นั้นจะส่งผลที่แตกต่าง เพราะกระตุ่นสมองหลายส่วน เช่น ส่วนการประมวลผลภาพ เสียง กลิ่น การเคลื่อนไหว ความคิด นอกจากนี้สมองยังทำการจดจำ และสร้างอารมณ์เข้าไปร่วมในเวลาการเล่าเรื่อง ทำให้เรามีความรู้สึกร่วมในเรื่องดังกล่าวและสร้างความทรงจำต่อเรื่องเล่าได้ง่ายกว่ามาก  และเมื่อเราได้ฟัง Story Telling สมองของเราจะหลั่งสาร Oxytocin ซึ่งเป็นสารแห่งความรักและความเห็นอกเห็นใจ ทำให้เราเกิดความผูกพันธ์ทั้งต่อเรื่องที่ได้ฟังและผู้ที่เล่าเรื่องนี้ด้วย

หลักการของ Story Telling มาจาก Aristotle ประกอบด้วย 4 หลักการด้วยกันคือ
1. ระทม (Suffering)
2. รันทด (Struggling)
3. ระทึก (Turning)
4. รอดจากทุกข์ (Overcoming)

ส่วนความหมายก็ตรงๆตัวเลยครับ เช่น เรื่องโดราเอม่อน สังเกตเห็นไหมครับ เรื่องจะเริ่มจากโนบิตะมีเรื่องระทมโดนเพื่อนแกล้ง สอบตก หรืออื่นๆ จากนั้นพยายามยังไงก็ไม่สามารถผ่านไปได้ด้วยตนเอง มันช่างรันทดยิ่งนัก แต่เมื่อโดราเอมอนมาช่วยเหลือทำให้เกิดเรื่องระทึก ตื่นเต้น สุดท้ายโนบิตะก็มีความสุขรอดจากทุกข์นั้นๆ ไป และเรื่องโดราเอมอนก็เป็นเรื่องที่อยู่ในความทรงจำของผู้คนจากหลักการทั้ง 4 นี้เอง ลองดูจากหนังภาพยนต์ก็ได้ครับ แทบทุกเรื่องที่โด่งดังเรื่องต้องเริ่มจาก ระทม ก่อน แล้วมันแฝงไว้ด้วยความรันทด จากนั้นมีความระทึกโผล่ขึ้นมา แล้วจบด้วยรอดจากทุกข์เสมอไป

หลักการของ Story Telling มันก็มีแค่นี้ละครับ แต่ปัญหาคือ "ทุกเรื่องเล่าบอกบางอย่างเกี่ยวกับความเป็นคุณ แต่ ผู้ฟังอยากรู้ว่าคุณน่าสนใจอย่างไร ก่อนจะฟังว่าคุณพูดอะไร" อันนี้ละที่จะต้องมีของเก็บไว้ในกระเป๋าให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ นั้นก็คือเรื่องของตัวคุณนั้นเอง ไอ้คำว่าเรื่องของตัวคุณนั้นเองก็คือคุณต้องมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตัวคุณเองเก็บไว้เพื่อให้ผู้คนได้รู้จักกับตัวตนของคุณ เรื่องนี้ไม่ควรยาวเกิน 3 -5 นาที มากกว่านี้ไม่ดีน่าเบื่อ ฟังแล้วหลับ เดี่ยวกับมาต่อว่ามีวิธีการคิดอย่างไรในการสร้าง Story Telling ของตนเอง

Story Telling เอาไปใช้ทำอะไร นั้นสิเอาไปทำอะไรดีหน่า เบื้องต้น Story Telling เอาไปใช้ได้ดังนี้
1. Connection Story สร้างความสัมพันธ์ เพิ่มความน่าเชื่อถือ แนะนำตัวให้น่าสนใจ (ต้องมีเรื่องของตนเองเก็ยใส่กระเป๋าไว้ )
2. Influence Story เอาชนะความเชื่อฝังหัว แก้ปัญหามุมมองที่ไม่ถูกต้อง กระตุ้นให้เปิดใจ ชวนมองมุมใหม่ เช่น คนสมัยก่อนชอบตีเด็ก เพราะเชื่อมาจะทำให้เด็กไม่กระทำผิดอีก การจะยกเลิกการตีเด็กนั้นให้กับผู้ใหญ่สมัยก่อน เราก็ต้องใช้ Story Telling ไม่ว่าจะเป็นการยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเด็กที่ถูกตี หรือผลลัพธ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ และที่สำคัญคือ ต้อง Story Telling อยู่สม่ำเสมอ เพื่อให้ผู้ฟังสามารถหลุดจากความเชื่อฝังหัว(ผู้เขียนเองไม่เชื่อว่าการทำโทษด้วยวิธีการตีจะทำให้คนเป็นคนดีได้)
3. Clarity Story เพิ่มความกระจ่าง สร้างความเข้าใจ ตอบคำถามที่ท้าทาย ในการตอบคำถามถ้าเราตอบแบบธรรมดามันก็ไม่น่าจดจำ แต่ถ้าเราเป็นนัก Story Telling แล้ว นั้นการตอบด้วยเรื่องเล่า จะทำให้คำตอบนั้นน่าสนใจและก็ความเข้าใจที่ชัดเจน ฉะนั้นการหาเรื่องเล่าติดตัวไว้จึงเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็น
4. Success Story ยกตัวอย่าง ใช้แทนกรณีศึกษา จูงใจให้คล้อยตาม คือการใช้ Story Telling ในการสร้างแรงจูงใจให้ผู้คนคล้อยตามได้โดยง่าย

คำถามต่อมาคือ Story Telling สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานได้อย่างไร เพราะถ้าไม่สามารถนำไปใช้ได้เราจะมั่วมานั่งศึกษาและฝึกฝนไปเพื่ออะไร ดังนั้นเรามีคำตอบให้ว่า เราจะเอา Story Telling ไปใช้ในการทำงานได้อย่างไร
1. เรื่องเล่า ช่วยสร้างการจดจำ ถ้าเราต้องการสื่อสารแน่นอนว่าเราจะอยากให้ผู้ที่เราสื่อสารด้วยสามารถจดจำเนื้อความที่เราต้องการสื่อสารออกไป ดังนั้น Story Telling ที่ผ่านการฝึกฝนจะสามารถช่วยให้ผู้ฟังสามารถจดจำเรื่องที่เราสื่อสารได้เป็นอย่างดี
2. เรื่องเล่า ช่วยกระตุ้นการลงมือทำ อยากให้คนทำงานก็ต้องสื่ิอสารให้เห็นความสำคัญของการทำงาน Story Telling ช่วยคุณได้ เพราะเรื่องที่แฝงไปด้วยรายละเอียดและอารมณ์จะช่วยให้ผู้คนเห็นความสำคัญของเรื่องที่คุณจะให้คนเหล่านั้นทำ และเค้าเหล่านั้นจะลงมือทำ
3. เรื่องเล่า ช่วยสร้างแรงบันดาลใจ มีพี่ชายคนหนึ่งเล่าเรื่องที่ไปแข่งขันวิ่งมาราธอนให้ผมฟังตั้งแต่การเริ่มฝึกซ้อมที่ยาวนานในแต่ละวัน การสมัครแข่งขันที่ยากลำบากเพราะในการแข่งขันรายการใหญ่ๆมีผู้สนใจจำนวนมหาศาลแต่สามารถรับสมัครได้เพียงจำนวนจำกัด และวันที่แข่งขันการวิ่งมาราธอน ความรู้สึกของพี่ชายคนนี้ถูกถ่ายทอดออกมาได้อย่างเล้าอารมณ์ เพราะมันคือเรื่องจริงและมีอารมณ์ คุณลองจินตนาการคุณวิ่งอยู่กลางแสงแดดเวลาเก้าโมงเช้าคุณเริ่มวิ่งตั้งแต่ตีสี่ คุณวิ่งมาแล้วห้าชั่วโมง คุณวิ่งมาเป็นระยะทางกว่า สามสิบกิโลเมตรเสื้อผ้าคุณมีแต่กลิ่นเหงื่อเหม็นเค็มอย่างบอกไม่ถูก คุณวิ่งต่อไปทีละก้าวทีละนาที ทีละนาที ทีละนาที ผ่านไปอีกหนึ่งชั่วโมง ป้ายบอกระยะเหลืออีกสองกิโลคุณจะเข้าเส้นชัย ร่างกายของคุณบอกว่าไม่ไหวแล้วคุณเหมือนอยู่ในนรกทั้งเป็น ข้อต่อปวดร้าวทุกครั้งที่ก้าว หลังของคุณได้แต่นึกถึงเบาะที่นอนนิ่มๆ คุณก้าวต่อไป ไม่เห็นใครบนเส้นทางวิ่งมีแต่แสงแดดและเงาที่อยู่เป็นเพื่อนคุณ คุณก้าวต่อไป ต่อไป ก้าวสุดท้ายที่คุณก้าวเข้าเส้นชัยคุณไม่รู้ด้วยซ้ำว่ากี่โมงแล้ว คุณไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีใครมามุงดูคุณบ้าง คุณไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีใครอุ้มคุณจากเส้นชัยไปที่เต้นพยาบาล แต่ที่ห้อยอยู่ที่คอคุณคือเหรียญรางวัล คุณผ่านมาแล้ว สี่สิบสองจุดหนึ่งเก้าห้ากิโลเมตร น้ำตาคุณไหลคุณทำได้ คุณทำในสิ่งที่คุณไม่คิดว่าคนอย่างคุณจะทำได้ คุณทำได้ คุณใช้พลังใจพาร่างกายคุณเข้าเส้นชัย คุณภูมิใจ เพราะไม่ใช่ทุกคนจะทำได้ ไม่ใช่เรื่องบัญเอิงแต่คุณทำได้ เท่านั้นละครับ ผมก็เริ่มซ้อมและลงวิ่งมาราธอน นี้คือ Story Telling ที่สร้างแรงบันดาลใจได้เป็นอย่างดี
4.  เรื่องเล่า ช่วยสร้างความเข้าใจ เพราะหน้าตารูปร่างไม่อาจบอกได้ว่าใครผ่านอะไรมาบ้าง แต่ Story Telling ทำให้เรารู้จักกันมากขึ้น เคยมีผลการวิจัย คนที่รู้จักกันมักจะมีแนวโน้มเห็นอกเห็นใจ เข้าใจซึ่งกันและกันมากกว่าคนที่ไม่รู้จักมักคุ้นกัน การใช้ Story Telling สั้นๆ ช่วยให้ผู้คนรู้จักกัน ทำงานร่วมกัน ช่วยเหลือกัน และประสบความสำเร็จทั้งการทำงานและชีวิตส่วนตัวไปด้วยกัน

แค่สี่ประโยชน์นี้ก็ทำให้การทำงานของคุณกับทีมของคุณทรงประสิทธิภาพมากขึ้น จากการ ใช้ Story Telling ในการสื่อสารระหว่างทีมงานนั้นเอง

เค้าว่ากันว่า 65% ของเวลา ที่คนส่วนใหญ่คุยกันอย่างไม่เป็นทางการ คุยกันเรื่อง ใคร ทำอะไร กับใคร
เอาง่ายๆ นะครับ นินทานั้นละ คนส่วนมากชอบนินทา และไม่รู้ตัวว่าชอบนินทา เรื่องนินทาไม่ใช่ Story Telling มันไม่เคยสร้างแรงบันดาลใจ และไม่เคยสร้างสรรค์ประโยชน์แก่ใคร ฉะนั้นถ้าคุณจะ Story Telling คุณก็ควรเลิกนินทา แต่ถ้าคุณอยากเล่าเรื่องของคุณอื่นคุณต้องขออนุญาติจากเจ้าของเรื่องที่คุณจะเล่า นั้นจะไม่ใช้การนินทาแต่เป็นการยกตัวอย่างจากเรื่องราวของผู้คนที่อนุญาติให้คุณนำไปแบ่งปันได้ อย่าลืมขออนุญาติก่อนนำมาเล่า

วงจร Story Telling หน้าตาเป็นอย่างไร เริ่มจาก

Story Listening (หาเรื่อง) - Insights การหาเรื่องไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเรา เรื่องที่ผู้อื่นแช่มาอีกที เรื่องของผู้อื่น หรือเราหาจากผู้ที่ประสบความสำเร็จจากทั่วโลก นำมาเก็บไว้เป็นคลังสำหรับเราเรื่อง

Story Triggering (สร้างเรื่อง) - Inspiration การนำเรื่องที่คุณหามา มาร้อยเรียงเข้ากับสิ่งที่คุณจะสื่อสารออกไป (The end in mind) เพื่อเน้นประเด็นที่คุณต้องการ เรื่องเดียวกันคุณอาจจะขยี้ต่างกันเพื่อสื่อสารต่างกัน

Story Telling (เล่าเรื่อง) -Influence การเล่าเรื่องนั้นเอง การเล่าเรื่องนี้คุณต้องฝึกฝน อารมณ์ น้ำเสียง ท่าทาง การหยุด การให้จังหวะ ทุกอย่างต้องเริ่มจาก The end in mind ว่าคุณมีวัตถุประสงค์อะไร แล้วคุณมีการสร้างเรื่องอย่างไร จะใส่เทคนิคไหนประกอบเพื่อให้เกิด Story Telling ที่ทรงประสิทธิภาพ

เอาละครับเล่าเรื่องมาซะนาน แล้ว Story Telling คืออะไรกันแน่ Story Telling คือ เรื่องจริง ห่อด้วย รายละเอียด และเล่าให้ได้ อารมณ์

นั้นละครับปรากฎการณ์ที่สอง ระทม รันทด ระทึก รอดจากทุกข์ และต้องเป็นเรื่องจริง ที่มีรายละเอียดในจุดที่เราต้องการเน้น (ขยี้) และใส่อารมณ์ให้สุดๆ เพื่อให้สมองทำงานหลายๆส่วน จนเกิดการจดจำ

ทดสอบ Story Telling

คราวนี้เรามาลองสร้างเรื่องราวของเราเองให้เป็น Story Telling กันครับ ลองแต่งเรื่องของตัวคุณเองโดยมีองค์ประกอบของ Story Telling และเรื่องนี้ต้องบอกด้วยว่า คุณเป็นใคร มาจากไหน ผ่านอะไรมาบ้าง จุดผลิกผันอยู่ที่ไหน มาอยู่ตรงนี้ได้อย่างไร ทำไมควรฟังคุณ (เล่าเรื่องราวให้ฟังว่าอะไรทำให้คุณเป็นคนแบบนี้ ทำสิ่งนี้หรือสนใจเรื่องนี้ (ทำไมควรสนใจ) )(แสดงให้ผู้ฟังเห็นว่า เรามีบางอย่างที่เหมือนกัน (เหมือนกันตรงไหน) ) ลองหาคนใกล้ๆตัวดูนะครับ แต่งเรื่อง ซ้อมเล่า และเล่าให้คุณใกล้ตัวคุณฟังดู พร้อมขอความคิดเห็นว่าเรื่องที่คุณเล่าส่งผลอย่างไร กับผู้ฟัง (ห้ามเกิน 4 นาที)

A Good Business Story
อีกตัวช่วยที่ทำให้ Story Telling น่าสนใจมากขึ้นคือ TIPS + Point

T เวลาในท้องเรื่อง
I เรื่องราวที่เกิดขึ้น
P คนที่อยู่ในเรื่อง
S หักมุมตอนจบ

+

Point จุดที่คุณจะสื่อสาร (ต้องขยี้(ใส่รายละเอียด))


ลองฟังความคิดเห็นจากคนที่คุณเล่า แล้วลองหาเรื่องใหม่ แล้วใส่ TIPS + Point ให้เข้มแข็งและฝึกฝนคุณจะเห็นความแตกต่างเมื่อคุณฝึกฝน

*** เทคนิคเพิ่มเติม
- เล่าช้าๆ
- พรรณาชัดๆ (ไม่ต้องรีบเพราะคุณซ้อมมาแล้ว)
- ไม่ต้องดราม่า (เล่าให้เล้าอารมณ์ แต่ไม่ต้องดราม่าใส่ผู้ฟัง(เราไม่ต้องการให้ใครมาเห็นใจ แต่เราต้องการสร้างแรงบันดาลใจ))
- เว้นจังหว่ะให้พัก
- มีหักมุมในตอนจบ

เรื่องควรระวัง
ระวังเล่าเรื่องเสร็จแล้วมีคนถามคุณว่า "แล้วไง" ฉะนั้นเพื่อไม่ให้เกิดคำถามนี้สิ่งที่เราควรทำคือ ทบทวน The end in mind วัตถุประสงค์ที่คุณเล่าคืออะไร แล้วคุณจะส่งต่ออย่างไร(ใช้เทคนิค Story Telling)

สุดท้าย คถา ของความสำเร็จ (TIPS FOR LEARNING A STORY)

1. หา - ปรับ > เล่า > เก็บ
 - หาไปเรื่อยเจอเรื่องนาสนใจก็จดเก็บไว้ ใส่โทรศัพท์ เศษกระดาษ จากนั้นลองพิจารณาเอามาปรับ เอาไปลองเล่า และเก็บไว้ใช้ครั้งต่อๆไป

2. อย่างจดเป็นเรื่องเก็บเฉพาะ TIPS
 - การจดเพื่อจำไม่ต้องจดมาทั้งหมด จดมาแค่ เวลาในท้องเรื่อง เรื่องราว ผู้ที่เกี่ยวข้อง และ สิ่งที่หักมุม แล้วคุณค่อยนำมา ร้อยเรียงในแบบของคุณตามสิ่งที่คุณต้องการจะสื่อออกไป

3. Point ของเรื่องอยู่ตรงไหน
 - อย่าลืมประเด็นของคุณคืออะไร อย่างหลุดออกนอนกประเด็น

4. ฝึกฝน ฝึกฝน ฝึกฝน
 - สุดท้ายไม่ต้องบอกก็รู้ฝึกฝนฝึกฝน ให้เกิดเป็นความชำนาญ ลองฝึกเล่าเรื่องให้คนใกล้ชิดคุณฟังวันละหนึ่งเรื่องครบร้อยเรื่องเมื่อไร คุณคือ ผู้เชียวชาญ Story Telling แล้วมันจะเปลี่ยนชีวิตคุณไปตลอดกาล


ครับจบ ทั้งหมดที่ท่านได้อ่านนี้เกิดจากการฟังจากคุณดีแล้วใส่ความเข้าใจของผู้เขียนถ้าข้อมูลผิดพลาดขออภัยมา ณ ที่นี้ สุดท้ายผมเห็นว่าเรื่องน่าจะเป็นประโยชน์ เลยอยากแบ่งปันไม่ได้หวังผลตอบแทนแต่อย่างใด แค่ให้เรื่องที่แบ่งปันเกิดประโยชน์แก่ผู้อ่าน ก็มีคุณค่าในตัวเรื่องมันเองอยู่แล้ว

สิทธินันท์ มลิทอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น