มีโอกาสเข้าร่วมงาน The Leader in me จัดโดยบริษัท PacRim เจ้าของลิขสิทธิ์หลักสูตรฝึกอบรม 7 Habits of Highly Effective People รวมกับสองโรงเรียน Leadership Lighthouse School คือโรงเรียนสาธิตบางนา กับโรงเรียนตันตรารักษ์ บรรยากาศภายในงานดูเหมือนมีพลังงานบางอย่าง
ช่วงแรกเป็นการฟังบรรยายจากตัวแทน Franklin Covey เล่าถึง Paradigm ของ The Leader in me ประกอบด้วย 5 Paradigm คือ
1. ทุกคนสามารถเป็นผู้นำได้ ในอดีตเราเชื่อว่าบางคนเป็นผู้นำได้ ไม่ว่าจากการกำเนิด การฝึกฝน หรือโชคชะตา แต่เมื่อ Paradigm เปลี่ยนตอนนี้สิ่งที่เราต้องเชื่อคือ ทุกคนสามารถเป็นผู้นำได้ ยิ่งเราเชื่อมั่นอย่างแท้จริงมากเท่าไรผู้ที่เราเชื่อก็จะแสดงออกถึงคุณค่าและศักยภาพมากเกินกว่าที่เราจะจิตนาการได้
2. เด็กทุกคนมีความสามารถเฉพาะตัว ในการทดสอบเพื่อผ่านจากสถานศึกษาแห่งหนึ่ง นักเรียนประกอบไปด้วย นก หนู ช้าง ปลา ม้า สุนัข เต่า อาจารย์ให้ข้อสอบเพื่อเรียนจบจากสถานศึกษาใครสามารถปีนต้นไม้ได้ก็จะเรียนจบ ผมถามทุกท่านนะครับ ปลาจะปีนต้นไม้ยังไง เรื่องนี้เปรียบเปรยกับเด็กๆที่มีความสามารถที่แตกต่างกัน เราจะตัดสินเด็กทุกคนด้วยวิธีการเดียวกันได้อย่างไรกันละครับ
3. การเปลี่่ยนแปลงเริ่มที่ตัวเรา หากเรารอให้ผู้อื่นมาเปลี่ยนทุกอย่างก็สายไปแล้ว ถ้าหาก ไอน์สไตน์ ไม่สนใจอวกาศ โลกก็ไม่รู้จัก ทฤษฎีสัมพันธภาพ ถ้าหากนิวตั้นไม่สนในลูกแอ็ปเปิลที่ตกลงมา เราก็จะไม่รู้จักกับแรงดึงดูด ถ้าหาก โคลัมบัส ไม่ออกเดินทางเราก็จะไม่รู้ว่าโลกกลม ทุกการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าเล็กใหญ่ สำคัญไม่สำคัญเรเป็นผู้ตัดสินใจในการกระทำของเราทั้งสิ้น ดังนั้นทุกการเปลี่ยนแปลงเราจากตัวเราได้ ขอแค่เราเชื่อมั่นในสิ่งที่เราทำนั้นเอง
4. ครูปลดปล่อยศักยภาพให้นักเรียน เกิดจากเรียนรู้ด้วยตนเอง ครูไม่ใช่ผู้ยัดเยียดความรู้แต่เป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ มีคำอยู่สองคำที่น่าสนใจคือ CAN กับ WANT หรือ สามารถกับอยาก โดยปกติเราจะสอนผู้อื่นให้สามารถทำได้ตามสิ่งที่เราต้องการให้ครูต้องการ ระบบต้องการ แต่เมื่อ Paradigm เปลี่ยนไป จากการบังครับให้เด็กต้องรู้ต้องทำเปลี่ยนมาเป็น ทำอย่างไรให้เด็กอยากทำต่างหาก คือโจทย์ที่เราต้องร่วมมาหาคำตอบจากทั้งครูและเด็กๆ
5. พัฒนาศักยภาพของนักเรียนในทุกด้าน เด็กทุกคนมีศักยภาพที่รอการปลดปล่อยเราไม่สามารถดึงศักยภาพด้านใดด้านหนึ่งก็จะไม่เกิดสมดุลของการพัฒนา ผู้สอนกับผู้เรียนต้องช่วยกันตั้งคำถามเรียนรู้เพื่อดึงศักยภาพออกมาด้วยกัน
ช่วงหลังเป็นการถามตอบ จากเด็กนักเรียนทั้งสองโรงเรียนที่อยู่ ทีมผู้นำ Lighthouse ช่วงนี้ผมชอบมากๆ เพราะการที่เด็กนักเรียนสามารถตอบคำถามด้วยหลักการของ 7 Habits มันช่างหน้าอัศจรรย์มากๆ
เด็กๆทั้ง 4 ต่างมีเป้าหมายในการปรักอบอาชีพของตนเองที่ชัดเจนมาก บอกได้ถึงรายละเอียดว่าเพื่อไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ต้องทำอย่างไรบาง แสดงให้เห็นถึงการนำอุปนิสัยทั้ง 7 เข้าไปอยู่ในโรงเรียนว่าได้ผลอย่างไรบาง นอกจากนั้นการที่เด็กนักเรียนพูดภาษา 7 Habits ในการตอบคำถามแสดงถึงภาวะผู้นำที่เห็นชัดและจับต้องได้อย่างไม่น่าเชื่อสายตา มี ผู้อำนวยการโรงเรียนจากทางภาคใต้ถามคำถามเด็กว่า อะไรคือปัจจัยของความสำเร็จในการนำ 7 Habits ไปใช้ในโรงเรียน (ผมนึกในใจ "มั่นใจนะว่านี้คือคำถามที่ใข้ถามเด็กๆ" โหดแท้) แต่สิ่งที่ต้องตกตลึงกันทั้งงานคือ เด็กช่วยกันตอบได้ดีมาก เสริมของกันและกัน เริ่มด้วยน้องผู้หญิงตอบเรื่องของบรรยากาศภายในโรงเรียนที่เหมาะสม น้องผู้ชายบอกครูและผู้ปกครองมีส่วนร่วม และปิดท้ายด้วย น้องอีกท่านหนึ่งคือ เริ่มจากตัวเราเอง ผมเป็นต่้องตบมือให้กับความสามารถุในการตอบที่ถูกหล่อหลอมขึ้นมาจาก อุปนิสัยทั้ง 7 นี้เอง
จากเวทีของเด็กๆ ตามด้วยเวทีของผู้อำนวยการทั้งสองโรงเรียนและตัวแทนผู้ปกครองสองท่าน
ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตบางนา เล่าถึงเด็กคนหนึ่งที่โกรธเพื่อนระหว่างลงเล่นน้ำ แล้วเด็กคนนี้ก็ยืนเฉยๆ ครูเลยเข้าไปถามว่าทำอะไรอยู่ครับ เด็กตอบว่า "ผมกำลังโกรธครับ ตอนนี้กำลังใช้ Proactive จัดการกับอารมณ์โกรธอยู่ครับ" นั้นคือเรื่องทีี่มหัศจรรย์มากๆ ที่เรื่องราวแบบนี้เกิดขึ้นกับเด็ก ลองคิดถึงว่าถ้าในสังคมไทยทุกคนมีอุปนิสัยที่ 1 คือ Proactive ความรุนแรงก็จะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน
และผู้อำนวยการโรงเรียนตันตรารักษ์ เล่าถึงการใช้ 7 Habits ภายในโรงเรียนว่าไม่ใช่การเพิ่มภาระแต่เป็นการลดภาระ อาจารย์เราว่า ถ้าเราเดินเข้าไปในห้องเรียนที่เด็กๆกำลังวิ่งเล่นก่อนเริ่มเรียน แล้วอาจารย์ผู้คำว่า Proactive เด็กจะเข้าใจทันทีและหยุดวิ่งเล่นกลับมาพร้อมที่จะเรียนรู้ต่อไป แต่ถ้าโรงเรียนไม่มีอุปนิสัย Proactive กว่าครูจะได้เริ่มสอนก็กินเวลาไปนานอยู่ 15 - 20 นาที แล้วครูก็จะเริ่มบ่นอีก กว่าจะได้เรียนก็หมดเวลาเสียแล้ว ดังนั้นการมี 7 Habits อยู่ภายในโรงเรียนเป็นการลดภาระให้กับครูและเป็นการเพิ่มเวลาที่มีคุณภาพในการเรียนให้กับนักเรียนนี้เอง
ส่วนผู้ปกครองทั้งสองท่านก็น่า อัศจรรย์มากจริงๆ ครับ การที่คุณแม่ทั้งสองเชื่อมั่นในลูกของตนเองและรับฟังสิ่งที่ลูกๆพูด และพร้อมที่จะเรียนรู้หลักการ 7 Habits จากลูกๆของตนเองเรียกได้ว่าเด็กจากทั้งสองโรงเรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ทั้งครู เจ้าหน้าที่ ผู้ปกครอง ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาภาวะผู้นำ ตามหลักการของ 7 Habits นั้นเอง
สำหรับงานเขียนครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนความรู้และแบ่งปันให้กับผู้ที่สนใจไม่มีวัตถุประสงค์แต่อื่นใดทั้งสิ้น ขอบคุณ PacRim ที่ให้เข้าร่วมงานด้วยครับ
สิทธินันท์ มลิทอง
19 มกราคม 2560
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น