เป็นการฝึกสำหรับผู้ที่มีความปราถนาในการพัฒนาตนเอง เพราะการเรียนรู้และสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้เป็นการพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองได้เป็นอย่างดีเหมาะแก่ทุกคนที่มีความปราถนาในการใช้ชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพและทรงประสิทธิผล
การเขียนครั้งนี้ได้รับข้อมูลมาจากการเข้าอบรมหลักสูตร TRAIN THE TRAINER ของอาจารย์ชาญ ตระการศิลป์ จากบริษัท WINTORY THAILAND
มีแนวคิดดังนี้
1. การวางเป้าหมายเพื่อความสำเร็จในชีวิต
สิ่งสำคัญ 2 อย่างคือ
1.1.การมีเป้าหมายที่ชัดเจนทั้งในระยะยาวและระยะสั้น
หรือก็คือ เป้าหมายในการมีชีวิตเป็นเป้าหมายใหญ่,เป้าหมาย 5 ปี,เป้าหมาย
1 ปี,เป้าหมายรายเดือน,รวมถึงเป้าหมายรายวัน
นั้นหมายความว่าความสำเร็จตามที่ความหมายของแต่ละคนนั้น
จำเป็นตั้งมีเป้าหมายที่ชัดเจนและสามารถไปถึงได้ หากยังไม่สามารถตั้งเป้าหมายได้
ให้ลองใช้คำถามเช่น เราเกิดมาทำไม,เรากำลังทำสิ่งที่ทำอยู่ไปทำไม
1.2.ความเชื่อ
เมื่อเรามีเป้าหมายที่ชัดเจนสิ่งที่จะส่งเสริมตัวเราให้ไปถึงเป้าหมายของเราได้นั้นก็คือความเชื่อ
ความเชื่อมั่นในตัวตนของเราและการกระทำของเราตั้งเชื่อมั่นไม่ลังเล
ไปกับความคาดหวังของคนรอบข้าง แต่ต้องเป็นความคาดหวังของเรา จงรับผิดชอบตัวเอง
จากผลการกระทำของตนเอง และทำอย่างมีความเชื่อเป็นแรงบรรดาลใจ
2. สี่ตัวอักษรช่วยได้
สี่ตัวอักษรช่วยคุณได้คือ T F A R
T
= THOUGHT ความคิด
ทุกสิ่งที่เป็นตัวตนของเราต้องเราจากการคิด มนุษย์มีความพิเศษคือสามารถใช้เส้นประสาทจำนวนมากกว่าสัตว์อื่นทำให้เราสามารถคิดได้
แต่คนส่วนใหญ่มักหยุดคิดทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
F
= FEEL ความรู้สึก
เมื่อเริ่มคิดได้แล้วต้องมีความรู้สึกร่วมเพื่อให้ความคิดออกมาจากความอยากคิดไม่ใช้แค่จำเป็นต้องคิด
A
= ACTION เมื่อคิดออกและสามารถรู้สึกถึงความอยากได้แล้วสิ่งที่คนส่วนใหญ่มักละเลยคือการลงมือทำ
ดังนั้นสิ่งที่คุณต้องทำคือการลงมือทำ ทำทันที
จะเดินไปเชียงใหม่หรือเดินไปล้างจานก็ต้องเริ่มจากก้าวแรกเหมือนกัน มีนักศึกษาวิชา
เซ็น ท่านหนึ่งได้รับมอบหมายจากอาจารย์ให้ไปล้างจานในครัว
ซึ่งมันช่างมากมายเหลือเกิน นักศึกษาท่านนั้นแทบจะเดินหนีกลับบ้านแล้ว
แต่ก็เกิดบรรลุทางความคิดขึ้นมาและเขาไปล้างจานจนหมดทุกใบ อาจารย์เซ็นถามว่า
มีจานสกปกกี่ใบที่ท่านล้าง นักศึกษาตอบ มีใบเดียวครับใบที่ผมล้างอยู่นั้นเอง
R
= RESULT ผลลัพธ์ เมื่อเราคิด รู้สึกและลงมือทำ
สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือผลลัพธ์ที่มีคุณค่าและประโยชน์แก่ตัวเราเอง
คนส่วนใหญ่มักจะคิดถึงแต่ผลลัพธ์
แต่ไม่สามารถมองเห็นวิธีการไปถึงผลลัพธ์เช่นอยากรวย แต่ไม่คิด
ไม่ได้รู้สึกอยากรวยจริงๆ และไม่ลงมือทำในสิ่งที่แตกต่าง
ผลลัพธ์ก็แทบจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้เลยครับ
3. สิ่งที่ช่วยในการรับรู้ของผู้เรียนคือ (HSD)
HEAR
การฟังการฟังเป็นสิ่งที่ดีแต่การฟังอย่างเดียวอาจจะทำให้ลืมได้
SEE
ถ้าเราได้ฟังและได้เห็นจะช่วยให้เราสามารถจำได้ดียิ่งขึ้น
DO
ลงมือทำ
ผสมทั้งสามสิ่ง ฟัง ดู และทำ จะทำให้เกิดความเข้าใจ ไม่ใช่แค่การรู้จำ รู้จริง
แต่จะพัฒนาไปได้ถึงการรู้แจ้งนั้นเอง
4. วิธีคิดของวิทยากร
รู้จริง
รู้จริงในเนื้อหาที่สอนหรือที่กำลังถ่ายทอดไม่ควรนำข้อมูลที่ยังไม่ได้พิสูจน์มาใช้แต่ควรจะพิจารณาอย่างถี่ถ่วนในเนื้อหาก่อนที่จะนำมาใช้
ถ่ายทอด หน้าที่หลักของวิทยากรก็คือการถ่ายทอด
ดังนั้นการถ่ายทอดที่ทรงประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นไม่ได้หากขาดการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ
ผู้นำ วิทยากรต้องแสดงตัวอย่างของการเป็นผู้นำ
เพราะผู้นำที่ดีย่อมนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงและช่วยเหลือผู้อื่น
น่าเชื่อถือ วิทยากรที่ดีจะต้องประพฤติตนให้มีความน่าเชื่อถือเพื่อดึงดูดผู้ฟังให้คล้อยตาม
ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกายหรือการแสดงออก
มนุษย์สัมพันธ์ มนุษย์สัมพันธ์และความเป็นมิตรจะช่วยให้ผู้ฟังเกิดอาการคล้อยตามเป็นผลให้เกิดความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน
การแก้ปัญหา เมื่อยืนอยู่หน้าเวที
แน่นอนว่าปัญหาอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
ดังนั้นวิวิทยากรมืออาชีพย่อมสามารถแก้ไบปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี
มีคุณธรรม มีคำกล่าวว่า
หมอพลาดคนตาย 1 คน นักบินพลาดคนตาย 1 ลำ
วิศวกรพลาดคนตาย 1 ตึก ครูพลาด คนตายทั้งประเทศ
ดังนั้นวิทยากรก็คือผู้ถ่ายทอดที่สามารถสร้างคุณประโยชน์และโทษได้อนันต์ จึงมีความสำคัญมากว่าวิทยากรต้องมีคุณธรรมสูงส่ง
รักการช่วยเหลือ ผู้ที่หลงรักการเป็นวิทยากรย่อมหลงรักการช่วยเหลือ
ซึ่งการพัฒนาคนเป็นหน้าที่ของวิทยากร
ดังนั้นการช่วยเหลือคนโดยการพัฒนาพวกเขานั้นคือการให้ความรักในการช่วยเหลืออย่างล้นหลาม
รักการเรียนรู้ ในการเป็นวิทยากรมืออาชีพสิ่งที่ต้องเตรียมตัวคือ
ถ้าคุณจะสอน 30 คุณต้องรู้ 70 แต่คุณไม่ต้องถ่ายทอด
70 คุณต้องกลั่นกรองให้เหลือ 30 เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
5. หลักการขึ้นเวทีที่น่าสนใจ
พาดหัวข่าว
เสมือนการพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ให้หน้าดึงดูดใจตัวใหญ่ตรงประเด็น
คำถาม
ขึ้นต้นด้วยคำถามจะช่วยดึงความสนใจผู้เข้ารับการอบรมให้อยู่กับปัจจุบันได้
บทกวี
หาบทกวีดีเพื่อดึงดูดความสนใจก็ดีไม่ใช่น้อยซึ่งบทกวีมีเยอะมากเตรียมเก็บไว้ใช้งานบ้างก็ไม่เสียหาย
วาทะคนสำคัญ
เลือกคนสำคัญที่ผู้ฟังน่าจะรู้จักเพื่อการผูกมิตรที่ดีและน่าจดจำ
บทเพลง
การใช้เพลงเพื่อนำเข้าสู่เนื้อหาก็ได้รับความนิยมอยู่มิใช่น้อย
อาจจะเป็นกิจกรรมสนุกๆ เพื่อนำเข้าสู่การเรียรู้
6. ระดับการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง
ในการพัฒนาตนเองเพื่อเป็นวิทยากรนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ของตนเองดังนั้นจึงมีผู้พัฒนาสามเหลี่ยมแห่งการเรียนรู้ขึ้นมาดังนี้
การอ่าน ได้รับความรู้ประมาณ 10%
การได้ยินหรือฟัง ได้รับความรู้ประมาณ 20%
การได้เห็นภาพจริง ได้รับความรู้ประมาณ 30%
การได้เห็นภาพและได้ยินพร้อมกัน ได้รับความรู้ประมาณ 50%
การพูดคุยแลกเปลี่ยน ได้รับความรู้ประมาณ 70%
การลงมือทดลองเอง ได้รับคว่ามรู้ประมาณ 80%
การลงมือสอนหรือถ่ายทอด จะทำให้เราสามารถเรียนรู้ได้ถึง 95%
จะเห็นว่าการอ่านหนังสือเพียงอย่างเดียวนั้นเป็นการเรียนรู้เพียง
10% เท่านั้นเองดังนั้นเมื่อเราต้องการพัฒนาองค์ความรู้ของเรา
สิ่งแรกคือการอ่านให้เยอะ จากนั้นไปฟังเพื่อให้เกิดความเข้าใจ
ไปเห็นเพื่อให้เกิดความกระจ่างชัด
หาผู้รู้เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนะเพื่อให้ได้รับแนวความคิดจากนั้นทดลองด้วยตนเองเพื่อให้เกิดความรู้สึกร่วมและสุดท้ายถ้าสามารถสอนผู้อ่านได้คือคุณได้รับความสำเร็จในเรื่องที่คุณสนใจนั้นๆแล้ว
7. หัวใจนักปราชญ์
ฉันทะ
รักในสิ่งที่ทำและจงทำในสิ่งที่รักด้วยแรงปราถนาในทางบวกค้นหาตนเองให้พบเพื่อเป็นผู้รู้ในเรื่องที่เรารักนั้นเอง
วิริยะ
ฝึกฝนให้มากหมั่นรับคมเลื่อยอยู่เสมอ มีความกล่าวจากอับบราฮัม ลินคอน ว่า
หากให้เวลาผมสามชั่วโมงในการตัดต้นไม้ ผมจะลับคมเลื่อยเป็นเวลาสองชั่วโมง
ดั้งนั้นหากเราสามารถฝึกฝนสม่ำเสมอจนเกิดเป็นนิสัยเป็นพฤติกรรมและกลายเป็นตัวเรา
เราก็จะคมกริบดังคมเลื่อยของอับบราฮัม ลินคอน
จิตตะ จิตจดจ่อกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าและสิ่งที่ทำอย่างมีสมาธิไม่วอกแวกล่องลอยอยู่ในอากาศไร้ประสิทธิภาพในการมีชีวิตของตนเอง
วิมังสา
ปรับปรุงพัฒนาจากข้อผิดพลาด
แน่นอนว่าความผิดพลาดหรือปัญหาเกิดขึ้นได้เสมอแต่สิ่งที่จะหนึ่งคือการแก้ไขปัญหาเพื่อไม่ให้ปัญหาเดิมเกิดขึ้นซ้ำอีกนั้นเอง
ทั้ง 7 หัวข้อนี้เป็นแค่เบื้องต้นเท่านั้นหากท่ายนผู้อื่นสนใจในเนื้อหาอย่างแท้จริง สามารถติดต่ออาจารย์ ชาญ ตระการศิลป์ได้ ที่ WINTORY TRAINING โดยตรงเลยครับ
หากมีขอเสนอแนะติชม น้อมรับด้วยความยินดี
สิทธินันท์ มลิทอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น