สิ่งที่ได้เรียนรู้จาก
DIALOGUE IN THE DARK @ CHAMCHURI SQUARE
25th JUNE 2016
บทเรียนจากความมืด
บทเรียนจากความมืด คือ นิทรรศการที่ให้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้การดำเนินชีวิตของผู้พิการทางสายตา
ผ่านห้องเรียนที่เป็นสถานที่ต่าง ๆ ที่อยู่ในชีวิตประจำวันของเรา เช่น สวนสาธารณะ
ห้องนั่งเล่น ข้างถนน ตลาดขายของ รถสาธารณะ การข้ามถนน และร้านขายขนมเครื่องดื่ม
ทำให้เราได้เรียนรู้ ทั้งความรู้สึก การดำรงชีวิตของผู้พิการทางสายตา
ด้วยประสาทสัมผัสของตัวเราเอง
ทั้งนี้สิ่งที่ได้เรียนรู้ในฐานะ
นักพัฒนาบุคลากรนั้น ขอนำเสนอมุมมองของภาวะผู้นำ เพราะภาวะผู้นำมีความสำคัญกับการพัฒนาองค์กรเป็นอย่างมาก
ทุกองค์กรมีผู้นำอย่างแน่นอน แต่ปัญหาขององค์กรส่วนใหญ่ผู้นำมักขาดภาวะผู้นำ
แต่หากองค์กรใดพนักงานทุกคนไม่ใช่เฉพาะผู้นำที่เป็นหัวหน้าเท่านั้นมีภาวะผู้นำสูง
องค์กรนั้นมักจะมีประสิทธิภาพสูงในการประกอบการเช่นเดียวกัน
การเข้าชมนิทรรศการแห่งความมืด มีผู้นำเข้าชมนิทรรศการเป็นผู้พิการทางสายตา
นำเราเข้าไปสู่บทเรียนต่างๆ ที่อยู่ในความมืดสนิทชนิดที่ไม่มีใครมองเห็นอย่างแน่นอน
บทเรียนที่ได้จากพี่ผู้นำทางเรานั้นคือการแสดงออกถึงภาวะผู้นำได้เป็นอย่างดี โดยเริ่มจาก
ผู้นำตามคุณลักษณะ
คุณลักษณะของผู้นำมีหลากหลายมาก
ไม่ว่าจะเป็น ความคิดสร้างสรรค์ การคิดอย่างเป็นระบบ ความชำนาญในงานที่ทำ
ความแข็งแกร่งของร่างกาย ความฉลาดทางอารมณ์ ในอดีตเรารียนรู้คุณลักษณะของผู้นำจากความเก่งกล้าสามารถในการต่อสู้
ปกป้อง รักษา เมื่อเข้าสู่สังคมอุตสาหกรรมผู้นำคือผู้ที่มี
ความรู้ในงานที่ทำเรียกว่ารู้ลึก คงามสามารถในการตัดสินใจ การบริหาร
ผู้นำทางเข้าชมนิทรรศการนั้น
เรียกได้ว่ามีคุณลักษณะของผู้นำอย่างชัดเจน ทั้งความสามารถในการจดจำสถานที่
ความสามารถในการจำชื่อและลักษณะของผู้เข้าชมนิทรรศการไม่ว่าจะเป็น เพศ
ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าชม(เพื่อน แฟน พี่น้อง)
จำได้แม้กระทั้งว่าคนไหนมีปฎิกิริยาอย่างไรในแต่ละบทเรียน และสามาราถเชื่อมโยงผู้เข้าชมกับบทเรียนได้อย่างลงตัว
มีทักษะการใช้เสียงที่เหมาะสมทำให้ผู้เข้าชมเกิดความรู้สึกสบายใจในการเข้าชมได้อย่างน่าประทับใจเลยทีเดียว
คุณลักษณะของผู้นำนั้นไม่ได้หมายความว่าจะมีมาแต่กำเนิดแต่สามารถฝึกฝนให้เกิดเป็นความชำนาญได้
ผู้นำทางของเราไม่ได้พิการทางสายตามาแต่กำเนิดแต่เกิดจากอุบัติเหตุ
และสามารถฝึกฝนทักษะการใช้ชีวิตในสังคมได้ เหมือยคนปกติแม้จะต้องใช้เวลานานกว่า 3
ปี ทั้งต้องปรับความรู้สึก ปรับการใช้ชีวิต แต่ผู้นำชมนิทรรศการของเราก็แสดงให้เห็นแล้วว่า
คุณลักษณะของผู้นำนั้นสามารถฝึกฝนให้เกิดความชำนาญได้และเป็นแรงบรรดาลใจให้กับผู้อื่นได้อีกด้วย
ผู้นำเชิงพฤติกรรม
พฤติกรรมการบริหาร การสั่งการ การนำ
นั้นเราสามารถแบ่งแบบหยาบๆ ได้ สองพฤติกรรมคือ ผู้นำเชิงประชาธิปไตย หมายถึงการให้ความสำคัญกับคนมากกว่างาน
และผู้นำเชิงเผด็จการที่ให้ความสำคัญกับงานมากกว่าคน ทั้งสองพฤติกรรมนั้นยังไม่มีข้อสรุปว่าพฤติกรรมแบบไหนจะให้ประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากการกัน
ผู้นำชมนิทรรศการของเราได้แสดงถึงผู้นำทั้งสองพฤติกรรมได้อย่างน่าอัศจรรย์
ในบทเรียนสวนสาธารณะจะมีรูปปั้นให้ผู้เข้าชมได้ลองสัมผัสดูว่า
เป็นรูปปั้นของอะไรในบทเรียนนี้จะมีอยู่สองรูปปั้น ผู้นำของเราจะเป็นคนกำหนดว่าใครจะได้ลองจับรูปปั้นไหน
นั้นคือการเริ่มกำหนดพฤติกรรมเชิงเผด็จการ
เพื่อให้สามารถควบคุมเวลาในการเข้าชมนิทรรศการได้อย่างเหมาะสม จากนั้นในบทเรียนรถสาธารณะนั้นผู้นำก็จะเป็นคนกำหนดที่นั่งให้กับผู้เข้าชมก็เป็นตัวอย่างของพฤติกรรมเชิงเผด็จการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงในการเข้าชมนิทรรศการเช่นเดียวกัน
ในบทเรียนตลาดนัดผู้นำชมนิทรรศการของเราจะให้เปิดโอกาสให้กับผู้เข้าชมสามารถเลือกสัมผัสกับสินค้าได้ด้วยตนเองเพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้จากของจริง
เพื่อได้ทดสอบประสาทสัมผัสทั้งการจับ การดม ความรู้สึกของผิวสัมผัส รวมถึงบทเรียนจากร้านขายขนมเครื่องดื่ม
ผู้ข้าชมนิทรรศการสามารถเลือกได้ว่าจะบทานขนมอะไร ดื่มเครื่องดื่มอะไร ในจุดนี้แสดงถึงผู้นำเชิงประชาธิปไตย
ที่เปิดโอกาสให้ผู้ตามสามารถเลือกได้ด้วยตนเอง เปิดประสบการเรียนรู้ได้
ทำให้ผู้เข้าชมนิทรรศการเกิดความอยากเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งการที่สามารถทำให้ผู้เข้าชมนิทรรศการเกิดความรู้สึกอยากเรียนรู้ด้วยตนเองก็เป็นผลดี
ในการพัฒนาตนเองเพราะเมื่อไรที่ คนหรือพนักงานมีความอยากรู้ อยากพัฒนา ด้วยตนเอง
องค์กรจะมีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน
บทสรุปของผู้นำทั้งสองพฤติกรรมไม่มีแน่ชัดว่าแบบไหนจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพมากกว่ากัน
ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ บุคคล และความเหมาะสม
เพื่อให้เราสามารถเรียนรู้ภาวะผู้นำได้มากขึ้นจึงได้เกิดทฤษฎีผู้นำตามสถานการณ์ขึ้น
ผู้นำตามสถานการณ์
ผู้นำตามสถานการณ์คือผู้ที่ดำเนินการบริหาร
สั่งการ ดำเนินงานโดยคำนึงถึงตัวผู้ตามว่ามีคุณลักษณะแบบไหน โดยแบ่งง่ายๆ ได้สองลักษณะคือ
ความมีทักษะหรือไม่มีทักษะ และ มีความอยากทำงานหรือไม่อยากทำงาน จากสองลักษณะสามารถแบ่งผู้ตามได้เป็น
4
ลักษณะย่อย คือ ผู้ตามที่มีความอยากทำงานแต่ขาดทักษะ
ผู้ตามที่มีทักษะแต่ขาดความอยากในการทำงาน ผู้ตามที่ขาดความอยากและขาดทักษะ
สุดท้ายคือผู้ตามที่มีความอยากเรียนรู้และมีทักษะในการทำงาน
เมื่อผู้นำสามารถแบ่งผู้ตามได้ 4 ลักษณะย่อยแล้ว
จึงเลือกการนำที่เหมาะสมตามคุณลักษณะทั้ง 4 คือ การชี้นำ
การแนะนำ การสนับสนุน การส่งมอบอำนาจ นี้ก็คือการนำทั้ง 4 ลักษณะ
ผู้นำชมนิทรรศการของเรานั้น จะเริ่มด้วยการแนะนำ
คือผู้เข้าชมมีความอยากรู้ อยากเรียนรู้
แต่ยังขาดทักษะในการเข้าชมนิทรรศการที่ไร้ซึ่งแสงสว่าง
ผู้นำของเราจะแนะนำว่าต้องใช้ไม้เท้าแบบไหนในการไหดหจับและการกวาดไม้เท้าเพื่อไม่ให้ชนเพื่อนที่เข้าชมด้วยกัน
ควรหลับตาระหว่างการเข้าชมเพื่อไม่ให้เราลืมตาและเพ่งสายตาในความมืดเพราะจะทำให้ปวดตา
จากสิ่งที่ผู้นำชมนิทรรศการทำคือการนำแบบชี้นำ ให้jกดดกดำดข้อมูลในการเข้าชมก็เสมือนกับการให้ความรู้กับพนักงานใหม่
เมื่อเข้าสู่สภาวะที่สองคือมีทักษะ
แต่ความอยากรู้เริ่มลดน้อยลง ผู้นำของเราจะเปลี่ยนการนำไปเป็นแบบการแนะนำคือ
เริ่มไม่บังคับไม่ยัดเยียดความรู้แต่จะเริ่มปล่อยให้ผู้ตามได้เรียนรู้ด้วยต้นเอง
เช่นเวลาเดินผ่านแต่ละบทเรียนผู้นำจะทำหน้าที่แค่ถามว่าเจออะไรบ้าง
สัมผัสอะไรบ้างในบทเรียนข้างถนนนั้น ผู้เข้าชมจะได้สัมผัสกับประตูบ้าน รั้วบ้าน
ผู้นำจะเริ่มถามว่าคิดว่ามีอะไรบ้างในบทเรียนนี้และควรทำอย่างไร
เช่นเจอสุนัขควรทำอย่างไร
สภาวะที่สามคือ ผู้ตามมีความอยากรู้น้อยลง
ทักษะเริ่มถดถอย ผู้นำจะนำแบบสนับสนุนเพื่อให้ผู้ตามเกิดไฟแห่งการเรียนรู้
ไฟแห่งการอยากทำงานขึ้นมาให้อีกครั้ง เช่นตอนขึ้นรถสาธารณะ
ผู้นำสร้างความตื่นเต้นได้เป็นอย่างมาก ทั้งการแนะนำสถานที่ที่รถสาธารณะวิ่งผ่านมีการใส่ความตื่นเต้นลงไปในบทเรียน
ทำให้ผู้เข้าชมนิทรรศการเกิดความตื่นเต้น และความอยากรู้อยากเห็นก็กลับมาอีกครั้งหนึ่ง
และสภาวะสุดท้าย คือ
ผู้ตามมีความอยากรู้และมีทักษะที่เหมาะสม ผู้นำทำหน้าที่ในการส่งมอบอำนาจ ในบทเรียนสุดท้ายผู้เข้าชมนิทรรศการจะได้ถามตอบกับผู้นำชมนิทรรศการเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม
เราได้แลกเปลี่ยนความรู้ ความรู้สึก และทัศนคติแก่กัน
ทำให้ผู้ตามแค่ปล่อยให้ผู้เข้าชมได้เรียนรู้ด้วยตนเองเสมือนผู้นำที่มอบอำนาจให้แก่ผู้ตามในการปฏิบัติงานได้ด้วยตนเองนั้นเอง
ดังนั้นในสถานะของผู้นำ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเริ่มจากเรียนรู้ในตัวผู้ตามว่ามีความอยากเรียนรู้และทักษะในการทำงานมากน้อยขนาดไหน
แล้วผู้นำจะต้องปรับการนำให้เหมาะสมกับผู้ตามแต่ละคน ผู้นำมีหน้าที่สนับสนุนผู้ตามให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นเอง
บทสรุป
การเรียนรู้จากบทเรียนแห่งความมืดสามารถให้บทเรียนได้หลากหลาย
ไม่ว่าจะเป็นการสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ความช่วยเหลือให้กับผู้พิการ
การรับรู้ความรู้สึกของผู้พิการในสังคม
เพื่อให้ผู้เข้าชมนิทรรศการนั้นสามารถใช้ชีวิตร่วมกับผู้พิการในสังคมได้
โดยไม่คิดว่าผู้พิการเป็นผู้ด้อยโอกาสและจ้องเอารัดเอาเปรียบ
เพื่อให้สังคมน่าอยู่ขึ้นและทุกคนอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข เข้าใจเขาเข้าใจเราเช้าใจกัน
และในฐานะนักพัฒนาบุคลากรสมารถเรียนรู้
บทเรียนแห่งความมืดได้ในหลากหลายมุมมอง
ภาวะผู้นำเป็นแค่ตัวอย่างเพียงเล็กน้อยที่เราสามารถเรียนรู้ได้
แต่ยังมีเรื่องอื่นอีกมาก เช่น การโค๊ช ระบบพี้เลี้ยง การพัฒนาการทำงาน
การสร้างความไว้วางใจ การสร้างแรงจูงใจ และอื่นๆอีกมากมาย
ถือว่าโชคดีมากที่ได้เข้าชมนิทรรศการในครั้งนี้ครับ
สิทธินันท์ มลิทอง